กองช่าง เทศบาลตำบลโคกสูง จังหวัดนครราชสีมา

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ซากดึกดำบรรพ์ ตำบลโคกสูง

        
         ที่บริเวณสระน้ำบ้านโคกสูง หมู่ที่ 1 ตำบลโคกสูง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ชาวบ้านขุดพบฟอสซิลสัตว์โบราณ ขนาดใหญ่จำนวนมาก ซึ่งฝังอยู่ใต้ดินลึกลงไปประมาณ 5 เมตร จึงแจ้งให้หน่วยงานราชการเข้าทำการตรวจสอบ ทั้งนี้ฟอสซิลสัตว์โบราณ ได้ ถูกขุดพบขณะที่คนงานของโรงสีข้าวสงวนวงษ์ จ.นครราชสีมา ได้เข้าไปขุดสระน้ำ เพื่อนำดินขึ้นมาใช้ประโยชน์ 



         หลังจากขุดลึกลงไปประมาณ 5 เมตร ก็ได้พบฟอสซิลไม้กลายเป็นหินขนาดใหญ่ 2 ท่อน และซากสัตว์โบราณขนาดใหญ่ เช่น ชิ้นส่วนกราม,ฟันล่าง และซี่โครง รวมถึงกระดูกชิ้นส่วนอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก จึงให้เพื่อนคนงานด้วยกันนำไปล้างและเก็บมากองรวมกันไว้  นักโบราณคดีตะลึงขุดพบซากฟอสซิลสัตว์โบราณนับสิบชนิดอายุกว่า 2 ล้านปีที่โคราช ฮือฮาซากกรามช้างกว่า 100 ชิ้น ซากตะโขงที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีทั้งส่วนหัว กราม และกระดูกแผ่นหลัง เป็นซากที่สมบูรณ์ที่สุดในไทย รวมทั้งซากหมาป่าไฮยีน่า กระดองเต่า เชื่อเป็นเต่าสายพันธุ์ใหม่ ชี้บริเวณแถบนี้เคยมีแม่น้ำสายใหญ่ไหลผ่าน เตรียมทำเป็นแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น                       
         จากการที่สำนักธรณีวิทยาได้รับแจ้งจากทางอบต.โคกสูง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เมื่อต้นเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ขอให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบซากกระดูกของสัตว์บางชนิด หลังชาวบ้านขุดพบระหว่างขุดบ่อน้ำของโรงสีข้าว เนื่องจากสงสัยว่าเป็นฟอสซิลของสัตว์โบราณ เพราะมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ตนและทีมวิจัยจึงเข้าไปตรวจสอบ พบโครงกระดูกกระจัดกระจายอยู่ในชั้นดินที่ความลึกประมาณ 5 เมตร
         จากการตรวจสอบพบว่าเป็นกรามช้างโบราณสเตโกดอนที่สมบูรณ์มาก มีฟันทั้งด้านซ้ายและขวา นอกจากนั้นยังพบกระดูกสันหลัง กระดูกขากระดูกสะโพก และกระดูกซี่โครง รวมแล้วกว่า 100 ชิ้น โดยช้างนี้มีชีวิตอยู่ในยุคไพลสโตซีน ประมาณ 2 ล้านปีที่แล้ว"  หลังจากนั้นทีมงานขุดค้นเพิ่มเติมบริเวณพื้นที่ดังกล่าว พบซากฟอสซิลสัตว์โบราณในยุคเดียวกันมากกว่า 10 ชนิด มีการขุดเจอส่วนหัว กรามและกระดูกแผ่นหลังของตะโขงความยาวประมาณ 1 เมตรซึ่งเป็นซากฟอสซิลของตะโขงที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยพบมาในประเทศไทย  เพราะตะโขงสูญพันธุ์จากเมืองไทยนานแล้ว นอกจากนี้ยังพบหัวกะโหลกของหมาป่าไฮยีน่าซึ่งค่อนข้างหายากมาก เพราะเท่าที่เคยขุดพบมีแต่ฟัน และเจอในถ้ำแถบแอฟริกาเท่านั้น "ที่สำคัญเรายังขุดพบกระดองเต่าซึ่งมีความยาวประมาณ 1 ฟุต สันนิษฐานเบื้องต้นว่าน่าจะเป็นสายพันธุ์ใหม่ เพราะมีลักษณะที่แปลกกว่า เต่าบกและเต่าน้ำทั่วๆ ไปมาก แต่ต้องใช้เวลาศึกษาอีกระยะหนึ่งถึงจะยืนยันได้ว่าเป็นเต่าพันธุ์ใหม่จริงหรือไม่ นอกจากนั้นยังพบกระดองตะพาบน้ำที่สมบูรณ์หลายตัว  รวมทั้งฟอสซิลกระดูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด อาทิ วัว-ควายโบราณ มากกว่า 3 ชนิด เก้งและกวางโบราณ โดยมีโครงกระดูก  กราม ฟัน และเขาจำนวนมาก และยังพบซากต้นไม้ขนาดใหญ่ เล็กจำนวนมากล้มตายทับถมปะปนอยู่กับซากสัตว์ ในตะกอนทรายปนกรวดสีเทา ทำให้คาดว่าจะพบฟอสซิลชนิดอื่นๆ อีกเรื่อยๆ ภายในพื้นที่ประมาณ 10 ไร่บริเวณนี้" 

         การขุดค้นซากฟอสซิลสัตว์จำนวนมากและค่อนข้างมีความหลากสายพันธุ์ในพื้นที่นี้ บ่งบอกว่า เมื่อประมาณ 2 ล้านปีก่อน   บริเวณโคกสูงมีแม่น้ำโบราณขนาดใหญ่ไหลผ่าน มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ชุกชุม มีต้นไม้ขนาดใหญ่จำนวนมาก เป็นป่าขนาดใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์มาก เมื่อสัตว์ป่าที่มาหากินริมน้ำล้มตายลง ก็ถูกน้ำพัดพาเอาโครงกระดูกมาสะสมตัวรวมอยู่กับซากต้นไม้ ในเวิ้งแม่น้ำโบราณดังกล่าว   การขุดและสำรวจฟอสซิลที่โคกสูง ทางทีมงานค่อนข้างประทับใจมาก เนื่องจากได้รับความร่วมมืออย่างดีจากอบต.โคกสูงซึ่ง   จัดส่งผู้แทนจากหมู่บ้านทั้ง 10 แห่งในพื้นที่มาช่วยกันขุดและสำรวจฟอสซิล อย่างเต็มที่ เนื่องจากต้องการเก็บและอนุรักษ์ฟอสซิลที่ เจอเอาไว้ให้เป็นสมบัติของลูกหลาน เพราะเกรงว่าหากล่าช้าไปถึงหน้าฝนในช่วงเดือนพ.ค.นี้น้ำจะท่วมขัง ทำให้ไม่สามารถสำรวจฟอสซิลส่วนที่เหลือได้ โดยซากฟอสซิลที่ขุดได้จะนำมาตั้งแสดงโชว์ในอาคารจัดแสดงของอบต.โคกสูงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่นฟอสซิลกระดูกสัตว์โบราณขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านขุดพบครั้งนี้คาดว่าจะเป็นสัตว์ตระกูลช้าง เนื่องจากเป็นกระดูกที่ใหญ่มาก โดยเฉพาะกระดูกฟันและกรามยังสมบูรณ์อยู่มาก คาดว่าคงมีอายุหลายล้านปี เนื่องจากชิ้นส่วนกระดูกต่าง ๆ ที่พบกลายเป็นหินทั้งหมดแล้วได้สั่งการให้ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)โคกสูง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ทำแนวกั้นบริเวณพื้นที่สระน้ำที่ขุดพบและดูแลรักษาซากฟอสซิลสัตว์โบราณ และฟอสซิลไม้กลายเป็นหินดังกล่าวไว้อย่างดี รวมทั้ง ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้หยุดการขุดสระน้ำไว้ก่อน เพื่อจะได้รักษาสภาพของแหล่งขุดพบ ให้คงสภาพเดิมมากที่สุด   จากนั้นจะได้ประสานเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาตรวจสอบซากฟอสซิล วันนี้ (8 มี.ค.) เพื่อพิสูจน์ว่า เป็นกระดูกของสัตว์ชนิดใด และมีอายุมากน้อยหรือมีความสำคัญอย่างไร  หลังจากชาวบ้านทราบข่าวการขุดพบฟอสซิล ก็ได้พา กันทยอยเดินทางมามุงดูเป็นจำนวนมาก โดยบางคนถึงกับนำธูปเทียนมากราบไหว้ซากสัตว์โบราณ และนำผ้าสีมาผูกฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พร้อมอธิษฐานขอเลขเด็ดเพื่อนำไปซื้อหวยหรือสลากกินแบ่งรัฐบาลตามความเชื่อ


จากกรณีที่มีการขุดค้นพบซากฟอสซิลกระดูกช้างโบราณ และไม้ตะเคียนทองกลายเป็นหิน ที่บริเวณทุ่งนาบ้านโคกสูง ต.โคกสูงอ.เมือง จ.นครราชสีมา ผู้ว่าฯสั่งกรมทรัพย์ลงพื้นที่ตรวจสอบเก็บชิ้นส่วนให้ครบ เจ้าของที่ดินยอมหยุดการขุดบ่อ สั่งกั้นเขตที่พบฟอสซิลกันชาวบ้านเก็บโครงกระดูกไปขาย  จากการขุดพบซากฟอสซิลกระดูกช้างโบราณ และไม้ตะเคียนกลายเป็นหินที่ต.โคกสูง อ.เมือง ตรวจสอบแล้วว่าเป็นกระดูกช้างโบราณ พันธุ์สเตโกดอน ซึ่งการขุดค้นพบครั้งนี้จะต้องตรวจสอบอีกว่าบริเวณดังกล่าวยังมีซากกระดูกหลงเหลืออีกหรือไม่ เพื่อรวบรวมนำไปจัดเก็บไว้ที่อบต.โคกสูงฯต่อไป

นอกจากนี้จะกั้นบริเวณที่พบซากฟอสซิลไม่ให้มีการขุดดินเพื่อทำเป็นบ่อน้ำเอาไว้ก่อน     เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ในการค้นหาซาก พร้อมทั้งจะต้องมีการเจรจากับเจ้าของที่ดินเสียก่อน ว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ส่วนการจัดเก็บโครงกระดูกช้างที่ขุดพบให้เป็นพิพิธภัณฑ์ในท้องถิ่นนั้นก็ต้องมีการเจรจาเรื่องนี้ให้แน่ชัดอีกทีเพราะการจะปรับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งนั้นคงยาก    เพราะเรามีพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินอยู่แล้วที่บ้านโกรกเดือนห้า ต.โคกกรวด อ.เมือง และที่พิพิธภัณฑ์ช้างโบราณ อ.เฉลิมพระเกียรติ ดังนั้นคงต้องตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้เกิดความเหมาะสม

สถานที่ค้นพบ

ายสมชัย ติรเศรษฐภักดี อายุ 67 ปี เจ้าของที่ดินที่ขุดพบซากฟอสซิล กล่าว่า ตามที่ตนได้ซื้อที่ดินมาจากชาวบ้านจำนวน 90 ไร่ เพื่อจะสร้างโรงสีข้าว บริษัท ยงสงวน จำกัด ให้แล้วเสร็จปลายปี 2549 ซึ่งบริเวณที่มีการขุดเจอเป็นพื้นที่ที่จะทำเป็นบ่อเก็บกักน้ำจำนวน 13 ไร่ ดังนั้นจึงต้องสั่งให้ผู้รับเหมาหยุดการขุดไปก่อน และให้ไปขุดบริเวณอื่น
       การขุดค้นพบซากสัตว์ดึกดำบรรพ์และต้นไม้โบราณบริเวณที่ดินครั้งนี้ พบในพื้นที่ของนายสมชัย ติรเศรษฐภักดี เจ้าของโรงสีข้าวยงสงวนบริเวณที่ดิน 13 ไร่เศษ ตั้งอยู่ ก.ม. 387 ถนนสุรนารายณ์ (สายจอหอ-อ.โนนไทย) บ้านโคกสูง หมู่ 1 ต.โคกสูง อ.เมือง มีความลึก 6 เมตร กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรณีและสิ่งแวดล้อม โดย ดร.เยาวลักษณ์ ชัยมณี หัวหน้าที่สำรวจขุดค้น ร่วมกับ ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุลหัวหน้าโปรแกรมภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน   และซากช้างดึกดำบรรพ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสันนิษฐานว่าบริเวณบ้านโคกสูงเป็นทางน้ำและหนองน้ำขนาดใหญ่ เป็นป่าที่มีแหล่งอาหารสมบูรณ์ และซากดึกดำบรรพ์ที่ขุดพบมีอายุราว 1 ล้าน 7 แสนปี ถึง 2 ล้านปี
             สำหรับการขุดพบครั้งนี้ได้มอบซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ทุกชนิดให้กับ อบต.โคกสูง เพื่อใช้จัดแสดงให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชมและศึกษาถึงแหล่งอารยธรรม  การดำรงชีวิตของสัตว์ดึกดำบรรพ์ เป็นแหล่งที่มีสัตว์ชุกชุม โดยมีการขุดพบซากช้างโบราณ "สเตโกดอน" ช้างที่มีอายุอยู่ในสมัยไมโอซีนตอนปลาย   (ประมาณ 10 ล้านปี) และสูญพันธุ์ไปในสมัยโฮโลซีนตอนต้น (ประมาณ 15,000 ปี) ซากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า 10 ชนิดจำพวก วัว ควาย เก้ง กวาง   เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ "หมาป่าไฮยีน่า" และซากต้นไม้โบราณอีกจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีซากต้นไม้โบราณขนาดใหญ่ที่ขุดพบในบ่อทราย
        "ซากดึกดำบรรพ์มีคุณค่าทุกชิ้นในทางวิชาการ แต่ที่สำคัญที่น่าสนใจหลายอย่างและที่หายากมากๆ เช่น "หมาป่าไฮยีน่า" หรือช้างโบราณ "สเตโกดอน" พบตัวเดียวและรู้ว่าเป็นชิ้นส่วนตัวนั้น เช่น ขา ซี่โครง นี่คือความชัดเจนของซาก ต.โคกสูง ยอมรับว่าน่าสนใจมากๆ และพื้นที่ ต.โคกสูงต่อเนื่องถึง อ.โนนสูง อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.พิมาย สามารถกล่าวได้ว่า บริเวณเหล่านี้คือสุสานของซากดึกดำบรรพ์ที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของเอเชียพื้นที่กว่า 1 แสนไร่ กล่าวคือ บริเวณที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำลำเชียงไกร ต่อเนื่องกับลำแม่น้ำมูล พื้นที่ทั้งหมดเคยมีน้ำหลากท่วมในอดีต และเคยมีป่าที่อุดมสมบูรณ์ตามริมแม่น้ำ   สัตว์ก็อุดมสมบูรณ์ และสัตว์เหล่านี้ล้มทับถมกันตาย เพราะสภาพน้ำท่วมอย่างรวดเร็วจนทำให้หนีไม่ทัน พูดได้ว่าศักยภาพเด่นของโคราชในเอเชียคือ  ทรัพยากรซากดึกดำบรรพ์"
  

ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินล้านปีในภาคอีสาน
ส่วนหนึ่งของไม้กลายเป็นหินขนาดใหญ่ของภาคอีสาน ที่สถาบันราชภัฏนครราชสีมา รวบรวมฝากไว้กับพระอธิการลพ ธมมคุตโต เจ้าอาวาสวัดโกรกเดือนห้า เพื่อแสดงในอุทยานและพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินโกรกเดือนห้า ต.สุรนารี อ.เมืองนครราชสีมา
ความสำคัญของฟอสซิลเอปโคราช


       
ฟอสซิลเอปโคราช
Class Mammalia
Order Primate
Family Pongidae
Genus Khoratpithecus (New Genus)
Species Khoratpihecus piriyai n.sp.

ชื่อทั่วไป (Common name) : Khorat Ape (เอปโคราช)
อายุทางธรณีวิทยา (Geological age) : ไมโอซีนตอนปลาย (9-7 ล้านปี) 

ผู้จำแนก ดร.เยาลักษณ์ ชัยมณี นักธรณีวิทยา และคณะ (2003)

ลักษณะทั่วไป (Characteristic)
เอปโคราชที่พบใหม่มีลักษณะพิเศษคือ
เป็นเอปขนาดใหญ่ สายพันธุ์อุรังอุตังชนิดใหม่ของโลก
มีกรามหนามาก ลักษณะ รูปร่างขนาดของฟันและความ
ย่นของเคลือบฟันคล้ายกับลิงอุรังอุตังในปัจจุบันและมี
ลักษณะพิเศษเฉพาะที่เหมือนกันคือ ไม่พบรอย
กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเปิด ปิด ปากใต้กรามส่วนหน้าเนื่องจากบริเวณดังกล่าวถูกพัฒนาให้มีถุงลมขนาดใหญ่เพื่อ ใช้ในการส่งเสียงกู่ร้องสื่อสารกันในกลุ่มลิงอุรังอุตัง ต่างกันตรงที่ ฟันหน้าของเอปโคราชมีขนาดเล็กกว่า แต่ฟันกรามซี่ในสุดมีขนาดใหญ่กว่าลิงอุรังอุตังปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นฟอสซิลเอปชนิดแรกที่ลักษณะกรามโค้งเป็นรูปตัวยู เช่นเดียวกับกรามเอปปัจจุบันและมนุษย์ ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่เคยปรากฎในเอปชนิดอื่น จากการศึกษาขนาดฟันของฟอสซิลดังกล่าวทำให้ทราบว่า เอปโคราชมีขนาดใกล้เคียงกับอุรังอุตังปัจจุบัน น้ำหนักตัวประมาณ 70-80 กิโลกรัม

สถานที่พบฟอสซิล (Original of specimens)
กรมทรัพยากรธรณี ได้รับฟอสซิลจาก คุณพิริยะ วาชจิตพันธุ์ ที่ค้นพบจากบ่อทรายท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา เมื่อเดือนสิงหาคม 2544 เราได้ร่วมกับ ดร.วราวุธ สุธีธร ดร.ประเทือง จินตสกุล สถาบันราชภัฏนครราชสีมา ดร.ชวลิต วิทยานนท์ กรมประมง ศาสตราจารย์จองจาร์ค เจเจ้ และ ดร.เบอนาร์ด มารองด้า มหาวิทยาลัยมองเปลิเอร์ ฝรั่งเศส ได้ทำการศึกษารายละเอียด พบว่า เป็นสายพันธุ์อุรังอุตังชนิดใหม่ของโลก มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นเอปขนาดใหญ่ มีกรามหนามาก และมีลักษณะ รูปร่าง ขนาดของฟัน และความย่นของเคลือบฟัน คล้ายคลึงกับอุรังอุตังปัจจุบัน มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวเช่นเดียวกับอุรังอุตังปัจจุบัน คือ ไม่พบรอยกล้ามเนื้อที่ใช้ในการปิด-เปิดปาก ใต้กรามส่วนหน้า เนื่องจากบริเวณดังกล่าวถูกพัฒนาให้มีถุงลมขนาดใหญ่ เพื่อใช้ในการส่งเสียงกู่ร้อง สื่อสารกันในกลุ่มอุรังอุตัง และลักษณะดังกล่าวนี้ ไม่เคยปรากฎในเอปชนิดอื่น และในฟอสซิลเอปชนิดใดมาก่อนเลย นอกจากนี้ยังเป็นฟอสซิลเอปชนิดแรกที่พบว่า มีลักษณะกรามโค้ง เป็นรูปตัวยู เช่นเดียวกับกรามเอปปัจจุบัน และมนุษย์





บริเวณที่พบฟอสซิล
ฟอสซิลนี้พบจากบ่อ ทรายท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภประมาณ 17 กม. เนื่องจากมีการขุดล่อดูดทราย จากริมแม่น้ำมูลนำมาใช้ประโยชน์ ในทางอุตสาหกรรม มีการค้นพบฟอสซิลหลายชนิด เช่น ช้าง 4 งา และช้างงาจอบ แรดโบราณ ม้าโบราณ และยีราฟโบราณ เมื่อศึกษาเทียบเคียงฟอสซิลที่พบบริเวณเทือกเขาศิวะลิก ในประเทศอินเดีย ต่อกับประเทศปากีสถาน ทำให้ทราบว่า ฟอสซิลเหล่านี้มีอายุประมาณไมโอซีนตอนปลาย ราว 7-9 ล้านปี และมีสภาพแวดล้อมเป็นทางน้ำโบราณ ขนาดใหญ่ ที่ขนาบด้วยป่าร้อนชื้น และมีทุ่งหญ้าอยู่ถัดออกไป

ฟอสซิลเอป

เอป (หรือลิงไม่มีหาง) ขนาดใหญ่ มีเพียง 4 ชนิดเท่านั้นในปัจจุบัน ได้แก่ อุรังอุตัง กอริลล่า ชิมแปนซี และมนุษย์ ทั้งหมดยกเว้นมนุษย์ อาศัยอยู่ในบริเวณป่าร้อนชื้น ใกล้เส้นศูนย์สูตร โดยที่ กอริลล่า และชิมแปนซี มีถิ่นอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา และอุรังอุตังมีถิ่นอาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย โดยพบเฉพาะบนเกาะสุมาตรา และบอร์เนียวเท่านั้น ปัจจุบันไม่พบอุรังอุตังอยู่บนแผ่นดินใหญ่ ของทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลย
ฟอสซิลของเอปชนิดแรกที่พบในประเทศไทย ได้แก่ เอปเชียงม่วน พบจากบริเวณเหมืองถ่านหินเชียงม่วน อ.เชียงม่วน จ.พะเยา โดยโครงการร่วมมือสำรวจศึกษาฟอสซิล สัตว์มีกระดูกสันหลัง ระหว่างกรมทรัพยากรธรณี กับมหาวิทยาลัยมองเปลิเอร์ ที่ 2 ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส เป็นฟันซี่เดี่ยวๆ จำนวน 18 ซี่ ซึ่งผลการศึกษาทำให้ทราบว่า เอปเชียงม่วนมีอายุราว 10-13.5 ล้านปี และคาดว่าเป็นบรรพบุรุษอุรังอุตังปัจจุบัน ฟอสซิลที่พบจากบ่อทรายท่าช้างครั้งนี้ เป็นฟอสซิลเอปที่สมบูรณ์ที่สุด เท่าที่เคยมีการค้นพบในประเทศไทย โดยพบกรามล่างที่เกือบสมบูรณ์ พร้อมฟัน 11 ซี่ ยังติดอยู่ในกราม ขนาดกรามประมาณ 10 ซ.ม. จากลักษณะกรามที่แข็งแรง และเขี้ยวที่ค่อนข้างใหญ่บ่งชี้ว่า เป็นตัวผู้ ผลการศึกษาวิจัยในรายละเอียด พบว่า เอปโคราชมีลักษณะฟันคล้ายคลึงกับฟอสซิลเอปเชียงม่วน และอุรังอุตังปัจจุบันมาก แต่มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นเอปขนาดใหญ่ ที่มีกรามหนามาก ลักษณะกรามโค้งเป็นรูปตัวยู และมีลักษณะ รูปร่าง และขนาดของฟัน และความย่นของเคลือบฟันคล้ายคลึงกับอุรังอุตังปัจจุบันจึงจัดให้เป็นเอ ปสายพันธุ์ใหม่ของโลก ชื่อ โคราชพิเธคัส พิริยะอิ (Khoratpithecus piriyai) หมายถึง "เอปโคราช" และเป็นชนิดใหม่ เพื่อเป็นเกียรติแก่ คุณพิริยะ วาชจิตพันธุ์ ที่มอบตัวอย่างดังกล่าว มาให้กรมทรัพยากรธรณีตรวจพิสูจน์ทราบ จากขนาดของฟันทราบว่า มีขนาดใกล้เคียงกับอุรังอุตังปัจจุบัน มีน้ำหนักราว 70-80 กิโลกรัม ต่างกันตรงที่ ฟันหน้าของเอปโคราชมีขนาดเล็กกว่า และมีฟันกรามซี่ในสุดขนาดใหญ่กว่าเอปเชียงม่วน นอกจากนี้ ฟอสซิลที่พบใหม่นี้ยังเป็นตัวชี้บ่ง ให้ทราบความสัมพันธ์ระหว่างฟอสซิลเอปเชียงม่วน และเอปโคราชมีสายพันธุ์เดียวกัน และขยายพันธุ์นี้เป็นญาติที่ใกล้ชิด กับอุรังอุตังปัจจุบันมากที่สุด


ความสำคัญของฟอสซิลเอปโคราช
ฟอสซิลเอปโคราชที่ค้นพบครั้งนี้ เป็นสายพันธุ์ใหม่ของโลก มีความสำคัญหลายประการ กล่าวคือ เอปโคราชมีลักษณะคล้ายคลึงกับอุรังอุตังปัจจุบันมากที่สุด และถือว่า เป็นญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของอุรังอุตังปัจจุบัน นอกจากนี้ยังพบว่า เป็นฟอสซิลเอปชนิดแรก ที่มีลักษณะกรามเหมือนเอปปัจจุบัน และมนษย์มากที่สุด ซึ่งชี้บ่งว่า พื้นที่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจเป็นแหล่งกำเนิด และวิวัฒนาการของเอปปัจจุบัน และประเทศไทยมีศักยภาพสูง ในการค้นพบฟอสซิลเอปชนิดใหม่ๆ เนื่องจากเป็นแหล่งสะสมตัวของฟอสซิลจำนวนมาก หลายบริเวณทั่วประเทศ
ความสำคัญ ประการสุดท้าย เอปโคราชที่พบมีอายุ 7-9 ล้านปี ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาสำคัญ ในการศึกษาวิวัฒนาการมนุษย์ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีการแยกสายพันธุ์ ระหว่างฟอสซิลเอปขนาดใหญ่ และมนุษย์ แม้ว่ายังไม่เคยมีการพบหลักฐานใดๆ เลย ทั้งในทวีปแอฟริกา และเอเชีย แต่การค้นพบฟอสซิลเอปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย อาจทำให้พบหลักฐานพิสูจน์ว่า ทวีปเอเชีย โดยเฉพาะบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งกำเนิด และวิวัฒนาการของมนุษย์ได้เช่นกัน

การศึกษาวิวัฒนาการของฟอสซิลเอปขนาดใหญ่ (ได้แก่ ลิงไม่มีหาง ซึ่งรวมถึง กอริลล่า อุรังอุตัง ชิมแปนซี และมนุษย์) เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของมนุษย์เรามาก เนื่องจากมนุษย์เป็นเอปขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง แต่ในโลกนี้ยังไม่เคยมีการค้นพบฟอสซิล ของชิมแปนซี และกอริลล่าเลย พบเฉพาะฟอสซิลของอุรังอุตัง และสายพันธุ์ของอุรังอุตังเท่านั้น การทราบข้อมูลรายละเอียดของญาติที่ใกล้ชิดของเราเพิ่มมากขึ้นเท่าไร ยิ่งทำให้เราทราบประวัติความเป็นมาของตัวเราเอง เพิ่มขึ้นเท่านั้น
ปัจจุบัน ประเทศไทยไม่พบอุรังอุตังอาศัยอยู่เลย แม้ว่าในอดีตเคยเป็นแหล่งกำเนิด และวิวัฒนาการของสัตว์ชนิดนี้ อาจเนื่องจากสภาพป่าถูกแปรเปลี่ยน เป็นที่อยู่อาศัย และพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ อุรังอุตังปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมาก พบเฉพาะที่เกาะบอร์เนียว และสุมาตราเท่านั้น และอยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์





การค้นพบสัตว์ใหม่ ของโลก  2  ชนิด  ได้แก่ 
Active Imageฟอสซิลหมูดึกดำบรรพ์  ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทหมู  จากแอ่งตะกอน ยุคเทอเชียรี-ควอเทอนารี  ในลุ่มน้ำมูล จ.นครราชสีมา  มี ลักษณะหัวกะโหลกเรียวและแบน  มีรูจมูกอยู่ในระดับเดียวกับตา  ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึง   ลักษณะและนิสัยการเป็นอยู่ คล้ายฮิปโปโปเตมัสขนาดเล็ก สูงประมาณ  0.8 เมตร เป็นชนิดแรกของประเทศไทยที่พบ  จากแหล่งบ่อดูดทรายใน ต.ท่าช้าง  อ.เฉลิมพระเกียรติ  มีอายุไมโอซีนตอน ปลายหรือ ประมาณ  8-6  ล้านปีก่อน
 
Active Imageและยัง ค้นพบปลากระเบนชนิดใหม่  จากทะเลสาบสงขลาตอน ใน  ซึ่งปลากระเบนบัวหรือกระเบนหางยาว  มีลักษณะ รูปร่างกลมคล้ายใบบัว  ปลายจะงอยปากแหลม ปัจจุบันนี้ได้ลดจำนวนลงอย่างมากจึงควรอนุรักษ์ทะเลสาบสงขลาอย่างเร่งด่วน
                           


 

ซากดึกดำบรรพ์อื่น ๆ  ในจังหวัดนครราชสีมา
          แหล่งซากดึกดำบรรพ์ช้างดึกดำบรรพ์บริเวณริมแม่น้ำมูลในเขตอำเภอเฉลิมพระ เกียรติและอำเภอโนนสูง  จังหวัดนครราชสีมา  นอกจากจะพบซากดึกดำบรรพ์ช้างดึกดำบรรพ์สกุลต่าง ๆ  จำนวนถึง 8 สกุลจาก 38 สกุลที่พบทั่วโลกแล้ว ยังพบซากดึกดำบรรพ์อื่น ๆ  อีกจำนวนมาก  เฉพาะซากดึกดำบรรพ์สัตว์  คาดว่าจะมีไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด  บางชนิดก็เป็นสกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก  เช่น  เอปโคราช (Khoratpithecus piriyai)  บางชนิดพบเป็นครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เช่น  เมอริโคโปเตมัส (Merycopothemus)   ยีราฟคอสั้น (Sivatherium)  เสือเขี้ยวดาบ (Homotherium)  เป็นต้น
          สำหรับซากดึกดำบรรพ์อื่น ๆ  ที่จะกล่าวในรายละเอียดของบทนี้  คือ  เอปโคราช  ม้าฮิปปาเรียน แรด เสือเขี้ยวดาบ  เมอริโคโปเตมัส  แอนติโลป  ยีราฟ  สัตว์วงศ์วัว  ฮิปโปโปเตมัส  หมู  ปลาฉลามน้ำจืด เต่า  จระเข้  หอยไฮริออปซิส  หอยคริสตาเรีย  หอยนางรม  หอยน้ำจืดไทรโกนิออยเดส  หอยน้ำจืดไพลคาตูนิโอ 

    เอปโคราชที่พบใหม่มีลักษณะพิเศษ คือ  เป็นเอปขนาดใหญ่ สายพันธุ์อุรังอุตังชนิดใหม่ของโลก มีกรามหนามาก  ลักษณะ  รูปร่าง ขนาดของฟัน  และความย่นของเคลือบฟันคล้ายกับลิงอุรังอุตังในปัจจุบัน  และมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่เหมือนกัน  คือไม่พบรอยกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเปิด  ปิดปาก   ใต้กรามส่วนหน้า เนื่องจากบริเวณดังกล่าวถูกพัฒนาให้มีถุงลมขนาดใหญ่  เพื่อใช้ในการส่งเสียงกู่ร้องสื่อสารกันในกลุ่มลิงอุรังอุตัง  ต่างกันตรงที่  ฟันหน้าของเอปโคราชมีขนาดเล็กกว่า  แต่ฟันกรามซี่ในสุดมีขนาดใหญ่กว่าลิงอุรังอุตังปัจจุบัน  นอกจากนี้  ยังเป็นซากดึกดำบรรพ์เอปชนิดแรกที่ลักษณะกรามโค้งเป็นรูปตัวยูเช่นเดียวกับ กรามเอปปัจจุบันและมนุษย์   ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่เคยปรากฏในเอปชนิดอื่น  จากการศึกษาขนาดฟันของซากดึกดำบรรพ์ดังกล่าว  ทำให้ทราบว่าเอปโคราชมีขนาดใกล้เคียงกับอุรังอุตังปัจจุบัน  น้ำหนักตัวประมาณ 70-80 กิโลกรัม
สถานที่พบซากดึกดำบรรพ์
    พบบริเวณบ่อดูดทรายริมแม่น้ำมูล  ตำบลท่าช้าง  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัด นครราชสีมา  ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์หลายชนิด  เช่น  เต่า  จระเข้  ช้างดึกดำบรรพ์หลายชนิด  แรดโบราณ  ม้าโบราณ  ยีราฟโบราณ  และไม้กลายเป็นหิน  เป็นต้น



ความสำคัญของซากดึกดำบรรพ์เอปโคราช
    การศึกษาซากดึกดำบรรพ์เอปโคราชที่ถูกค้นพบ  ทำให้เรารู้ประวัติความเป็นมาของมนุษยชาติมากขึ้น กล่าวคือ การค้นพบซากดึกดำบรรพ์เอปในประเทศไทยอาจเป็นหลักฐานที่ช่วยพิสูจน์ข้อ สันนิษฐานได้ว่าบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดมนุษย์  นอกจากนี้  อายุของเอปโคราชที่พบ (9-7 ล้านปีก่อน) เป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์  เพราะเป็นช่วงที่มีการแยกสายพันธุ์ระหว่างเอปขนาดใหญ่  และมนุษย์อีกด้วย


ม้าฮิปปาเรียน  
1.  การจำแนก
ชั้น               Mammalia
อันดับ           Perissodactyla
วงศ์              Equidae
สกุล                 Hipparion
2.  ชื่อทั่วไป  : Hipparion  ม้าฮิปปา เรียน

3.  อายุทางธรณีวิทยา
    ส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่ในสมัยไพลโอซีนตอนต้น (4 ล้านปีก่อน) มีเพียงส่วนน้อยที่ดำรงชีวิตอยู่จนถึงระยะแรกของสมัยไพลสโตซีน (1.8-0.8 ล้านปีก่อน) และก็สูญพันธุ์ในที่สุด

4.  วิวัฒนาการของม้า
ม้ากลุ่มแรกถือกำเนิดขึ้นในสมัยอีโอซีนตอน ต้น (Lower Miocene)  มีชื่อเรียกว่า       “ไฮราโคธีเรียม” (Hyracotherium)  เท้าหน้ามี 4 นิ้ว  เท้าหลังมี 3นิ้ว  เป็นกลุ่มที่แพร่กระจายอย่างกว้างขวางในทวีปอเมริกาเหนือและ ยุโรป  แต่เมื่อสิ้นสุดสมัยดังกล่าว  ไฮราโคธีเรียมได้เริ่มสูญพันธุ์ไปจากดินแดนโลกเก่า (Old World)  ดังนั้น  ในช่วงเวลาต่อ ๆ  มา วิวัฒนาการของม้าจึงจำกัดอยู่แต่ในทวีปอเมริกาเหนือ  และม้าที่พบในภายหลัง  ทั้งในยูเรเชีย  แอฟริกา และ อเมริกาใต้   จึงเป็นม้าที่อพยพออกมาจากทวีปอเมริกาเหนือ
 

ม้าฮิปปาเรียน (Hipparion) เป็นม้าสกุลแรกของสมัยไพลโอซีน (Pliocene) ที่วิวัฒนาการสืบต่อมาจากม้าเมอริชิปปัส (Merychippus) ของสมัยไมโอซีนตอนปลาย  และจัดเป็นม้ากลุ่มที่ 2 ที่แพร่กระจายครั้งใหญ่จากทวีปอเมริกาเหนือเข้ามาสู่ดินแดนยูเรเชีย (Eurasia) เพราะม้าชนิดโบราณและเก่าแก่ที่สุดของสกุลนี้พบในทวีปอเมริกาเหนือ  แต่ชนิดอื่นที่มีมากกว่า  พบในยุโรปตอนกลางและตอนใต้  แอฟริกาเหนือ ตะวันออกกกลาง อินเดีย จีน ไทยฮิปปาเรียนเป็นม้าที่มีความคล่องแคล่วว่องไว  กะโหลกของมันถูกพัฒนาให้มีวิวัฒนาการมากขึ้นกว่าบรรพบุรุษ

5.  ลักษณะเด่น 
1)  ฟันมีลักษณะตัวฟันสูง (high crowned teeth)
2)  รูปแบบสารเคลือบฟันมีความคดโค้งซับซ้อนมาก ฟันบนมี protocone  มีโครงสร้างที่คล้ายเสาเหลี่ยม (pillar-like structure)  ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจาก “เมอริชิปปัส”  ที่เป็นบรรพบุรุษ
3)  นิ้วเท้ามี  3 นิ้ว (three-toed horse)
4)  ส่วนที่เป็นจมูกมีลักษณะแคบ (narrow-nosed horse)


A : ชุดฟันหน้ากราม (premolar) และฟันกราม (molar) ที่อยู่บริเวณขากรรไกรบน   ข้างซ้ายของม้า 
B : แสดงตำแหน่งของ  protocone  และโครงสร้างฟันกรามบนของม้าฮิปปาเรียน
 
6.  สภาพแวดล้อมและถิ่นที่อยู่อาศัย 
    เป็นแบบทุ่งหญ้าในที่ราบและสภาพแวดล้อมแบบสเต็ปป์ (steppes) หรือกึ่งทะเลทราย  ซึ่งในตอนปลายสมัยไมโอซีนจนถึงไพลโอซีน  มีการแพร่กระจายกว้างขวางทั้งในอเมริกาเหนือ และยูเรเชียที่เป็นแผ่นดินติดต่อกัน  และ สภาพแวดล้อมที่เป็นหญ้าซิลิกา (siliceous grasses) เนื่องจากเม็ดทรายมักฝังติดอยู่ระหว่างกอและใบหญ้า   ทำให้ฟันกรามของม้ามีลักษณะยาว  เพื่อช่วยให้มีอายุการใช้งานในการบดเคี้ยวหญ้าที่มักจะมีเม็ดทรายติดอยู่

7.  ชิ้นส่วนซากดำดำบรรพ์ที่พบ
    กระดูกฝ่าเท้าหลัง (metatarsal) กระดูกตาตุ่ม (astragalus)  และ ฟันบน-ล่าง



โครงกระดูกซากช้างโบราณ เทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเีกียรติ

ที่มาของการพบแหล่งซากช้างโบราณ
          นายสมศักดิ์ ศรีหัตถผดุงกิจ เป็นนักธุรกิจคนแรก ของจังหวัดนครราชสีมา ที่ริเริ่มธุรกิจบ่อดูทรายริมแม่น้ำมูล ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่ พ.ศ.2529 โดยทำในพื้นที่เล็กๆ ติดกับสวนแสงเพชร บ้านหนองบัวรี ตำบลท่าช้าง และต่อมาในพ.ศ.2530 นายแสง มณีเพชร อดีตสมาชิกสภาจังหวัดนครราชสีมา ได้ดำเนินธุรกิจดูดทรายในพื้นที่ที่ติดต่อกันด้วย ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นสถานที่ตกปลาและล่องแพ จากคำบอกเล่า ของนายแสง มณีเพชร การดูดทรายครั้งนั้น กระทำกันในระดับความลึกไม่เกิน 15 เมตร แต่ ณ ระดับความลึก 7-12 เมตร พบกระดูก ฟันกราม ขากรรไกรขนาดใหญ่ งาช้าง และสัตว์อื่นๆ หลายชนิดจำนวนมาก จนอาจกล่าวได้ว่า พบแทบทุกตารางวา โดยตะกอนในหน้าตัด จะเป็นทรายละเอียด ทรายดาน ทรายกรวด ส่วนขอนไม้จะพบตั้งแต่ระดับ 4-6 เมตรลงไป ซากกระดูกทั้งหลายจะที้งไว้ที่วัด หรือปล่อยไว้บนพิวดินให้ผุพังไปตามกาลเวลา ซึ่งจะสลายตัวและหมดสภาพไป ภายในระยะเวลา 3-5 ปี

ภาพบ่อทรายริมแม่น้ำมูล

ต่อมา นายสมศักดิ์ ศรัหัตถผดุงกิจ ได้ขยายกิจการ โดยซื้อที่ดินฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำมูล ด้านทิศตะวันตก และดำเนินการจนกระทั่งเป้นบ่อที่กว้างและลึกที่สุดเกือบ 40 เมตร พื้นที่ผิวหน้าของบ่อ 60-70 ไร่ พบซากดึกดำบรรพ์พืชและสัตว์จำนวนมาก บางส่วนที่นำขึ้นมาได้ เก็บไว้ในห้องเก็บของเป็นกองกระดูกกองใหญ่ และจุดธูปเทียนบูชาขอขมา ต่อมา นายนเรศ สัตยารักษ์ นักธรณีวิทยา จากกรมทรัพยากรธรณี และดร.ประเทือง จินตสกุล จากสถาบันราชภัฎนครราชสีมา ซึ่งทำงานในโครงการอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินของจังหวัด ได้ไปสำรวจไม้กลายเป็นหินที่บ่อทราย และพบกองกระดูกดังกล่าว จึงได้แนะนำแหล่งพบแก่ดร.วราวุธ สุธีธร ผู้เชี่ยวชาญไดโนเสาร์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง ของฝ่ายโบราณชีววิทยา กรมทรัพยากรธรณี ซึ่งต่อมา เป็นผู้นำซากบางส่วนไปวิเคราะห ์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศส คือ ศาสตราจารย์ ดร.จอง จาคส์ เจเจ้ (Prof. Dr.Jean-Jacgues Jaeger) และ ดร.เยาวลักษณ์ ชัยมณี พบว่า เป็นซากของช้างโบราณ 4 สกุล คือ
            1) ช้างสี่งา สกุลกอมดฟธีเรียม (Gomphotherium)
            2) ช้างงาจอบ สกุลไดโนธีเรียม (Deinotherium)
            3) ช้างสี่งา สกุลสเตโกโลโฟดอน (Stegolophodon)
            4) ช้างสองงา สกุลสเตโกดอน (Stegodon)
โดยช้างดังกล่าว มีชีวิตอยุ่ในช่วง 16-0.01 ล้านปีที่แ้ล้ว
           ผลการจำแนกซากช้างโบราณ จากตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ ที่ได้จากบ่อทรายต่างๆ ในบริเวณริมแม่น้ำมูลของตำบลท่าช้าง ตำบลช้างทอง ในช่วงเวลาต่อมา โดยผู้เชี่ยวชาญซากช้างโบราณชาวญี่ปุ่น คือ ดร.ฮารุโอะ เซกูซา (Dr.Haruo Saegusa) และคณะ กับศาสตราจารย์ ดร.โยชิกาุซุ ฮาเซกาวา มีซากช้างโบราณที่จำแนกได้ในเบื้องต้นถึง 8 สกุล ใน 38 สกุลของช้างโบราณที่พบทั่งโลก นอกจากนี้ยังพบสัตว์ชนิดอื่นๆ อีกจำนวนมาก รวมแล้วเกือบ 50 ชนิด เช่น ยีราฟคอสั้น ม้าฮิปปาเรียน 3 นิ้ว (Hipparion) แรดโบราณ กวางแอนติโลป (Antelope) ฮิปโปโปเตมัส หมูใหญ่ฮิปโปโปเตโมดอน (Hippopotamodon) เต่าขนาด 2-3 เมตร จระเข้ตะโขง เอป (Ape) รวมทั้งซากพืชโบราณ เป็นต้น นับว่าพื้นที่ริมแม่น้ำมูลของตำบลท่าช้าง และตำบลช้างทอง ซึ่งทีอาณาบริเวณมากกว่าหมื่นไร่ เป็นพื้นที่ที่ีมีความหลากหลายทางชีวภาพโบราณ และมีความต่อเนื่องเชิงวิวัฒนาการ ผ่านหลายสมัยทางธรณีวิทยา โดยเฉพาะในด้านช้างโบราณ จัดได้ว่าเป็นแหล่งที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก 
 

ซากดึกดำบรรพ์ช้างโบราณที่ ค้นพบ
         ซากดึกดำบรรพ์ช้างโบราณที่ค้นพบมี 5 สกุล คือ
        1) ช้าง "กอมโฟเธอเรียม" (Gomphotherium) หรือช้าง 4 งา เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่เคยพบซากดึกดำบรรพ์ในยุโรป เอเชีย (จีน พม่า อินเดีย ไทย) อเมริกาเหนือและใต้ มีงวงสั้นกว่่าช้างปัจจุบัน มีงาตรง 2 คู่ งาคู่หนึ่งงอกออกจากขากรรไกรบน งาอีกคู่หนึ่งออกจากขากรรไกรล่าง กะโหลกและคอยาว ช้างในสกุลนี้มีหลายสิบชนิด มีความสูงถึงไหล่ตั้งแต่ 1-3 เมตร เป็นช้างที่วิวัฒนาการมาจากช้างรุ่นแรกๆ บนดินแดนอียิปต์ที่มีชนาดเท่าหมูใหญ่ที่ชื่อเมอริธิเรี่ยม ช้างกอมโฟเธอเรี่ยม เป็นช้างที่มีชีวิตอยู่ระหว่าง 13-25 ล้านปีมาแล้ว ดังรูป
รูปช้าง “ กอมโฟเธอเรียม” (Gomphotherium) และโครงกระดูก
             2) ช้าง "ไดโนเธอเรี่ยม" (Deinotherium) ช้างงาจอบเป็นช้าง ที่มีชีวิตอยู่ระหว่าง 1.7-25 ล้านปีแล้ว ซากดึกดำบรรพ์ช้างสกุลนี้ เคยพบในทวีปแอฟริกา ยุโรปและเอเชีย เป็นช้างที่ไม่มีงาจากขากรรไกรบน แต่มีงาจากขากรรไกรล่าง และงอกยาวโค้งงอลงล่าง เข้าใจว่าใช้ในการขุดหารากไม้ มีหลายชนิด ความสูงเฉลี่ยประมาณ 3 เมตร แต่ชนิดที่ใหญ่ที่สุดพบในยุโรป มีความสูงถึงไหล่ 3.8 เมตร ในประเทศไทยพบครั้งแรกที่อำเภอปง จังหวัดพะเยา ต่อมาพบในบ่อดูดทรายตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ดังรูป
ช้าง “ไดโนเธอเรี่ยม” ( Deinotherium ) ช้างงาจอบ และฟันกราม
            3) ช้าง "สเตโกโลโฟดอน" (Stegolophodon) เป็นช้างที่มีชีวิตอยู่ ระหว่าง 5-25 ล้านปีที่ผ่านมา แล้วเป็นช้างบรรพบุรุษของวงศ์ปัจจุบัน มีงา 1 คู่ จากขากรรไกรล่าง ที่มีลักษณะที่ยาวกว่า เป็นช้างที่มีลักษณะอยู่ระหว่างช้างมาสโตดอน ยุคเทอร์เชียรี กับช้างเอลลิฟาส ในสมัยปัจจุบัน มีกรามล่างที่ใช้บดเคี้ยวพืชได้มีประสิทธิภาพ มากกว่าช้างกอมโฟเธอเรียม เป็นสกุลช้างที่เกิดขึ้นครั้งแรก ในระหว่างสมัยไมโอซีน ของทวีปยุโรป แอฟริกา และเอเชีย และได้สูญพันธุ์ไปในสมัยไพลโตซีน หรือสมัยน้ำแข็งช่วงสุดท้าย ดังรูป
ภาพช้าง “สเตโกโลโฟดอน” ( Stegolophodon) และฟันกราม
                4) ช้าง "สเตโกดอน" (Stegodon) เป็นช้างที่มีชีวิตอยู่ระหว่าง 0.01-5 ล้านปีมาแล้ว เป็นช้างโบราณที่เกิดขึ้นในระหว่างสมัยไพลโอซีน ในทวีปเอเชีย และในสมัยไพลโตซีนในทวีปแอฟฟริกา และเอเชีย เป็นสกุลช้างที่วิวัฒนาการต่อมาจากช้างสกุลสเตโกโลโฟดอน และเป็นช้างที่วิวัฒนาการมาเป็นช้างปัจจุบัน มีศรีษะขนาดใหญ่ (กะโหลกใหญ่กว่าช้างสกุลสเตโกโลโฟดอน) ขากรรไกรล่างสั้นเหมือนช้างปัจจุบัน แต่ลักษณะฟันยังเป็นปุ่ม (Cusp) แบบช้างโบราณ และงาล่างหายไป บางชนิดที่พบในอินเดีย มีงายาวถึง 3.3 เมตร ดังรูป
ภาพช้าง “สเตโกดอน” (Stegodon) และฟันกราม
                
5) ช้าง เอลลิฟาส (Elephas) เป็นช้างสกุลเดียวกับ ช้างเอเชีย หรือช้างไทยปัจจุบัน แต่พบในบ่อทรายเป็นชนิดที่โบราณกว่า สมัยก่อนจัดอยู่ในสกุลพาลีโอโลโซดอน มีจำนวนแผ่นฟันในกรามน้อยกว่าช้างปัจจุบัน มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 0.01-1.8 ล้านปีมาแล้ว พบซากดึกดำบรรพ์ในทวีปยุโรป เอเชีย รวมทั้งหมู่เกาะ เช่น ญี่ปุ่น เป็นช้างที่มีงาขนาดใหญ่กว่าช้างแมมมอธทั่วไป ความสูงถึงไหล่มากกว่า 3 เมตร ส่วนหัวมีขนาดเล็ เมื่อเปรียบเทียบกับลำตัว ดังรูป
ภาพช้าง เอลลิฟาส (Elephas)

ภาพถ่ายทางอากาศลุ่มน้ำมูลที่พบซากดึก บรรพ์ช้างโบราณ
      
ปัจจุบัน ซากดึกดำบรรพ์ช้างโบราณบางส่วน ได้มีการนำมาเก็บไว้ ทีอาคารแสดงโครงกระดูกซากช้างโบราณ เทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเีกียรติ โดยมีการจัดนิทรรศการความรู้ สำหรับประชาชนที่สนในมาเยี่ยมชม
อาคารแสดงโครง กระดูกซากช้างโบราณ

ภายในอาคารแสดงโครงกระดูกซากช้างโบราณ

ฟันกราม                                      งาช้าง

ซากดึกดำบรรพ์ช้างโบราณ

ช้างโบราณสกุลต่างๆ
 ซากกระดูกอื่นๆ ที่ขุดพบบริเวณบ่อทรายริมแม่น้ำมูล
ซากกะโหลกและฟันกรามแรดโบราณ

          ม้าโบราณ 3 นิ้ว                   ขากรรไกรและฟันยีราฟโบราณ

เมอริโคโปเตมัส                           สัตว์ตระกูลวัว

ปัจจุบันซากดึกดำบรรพ์อื่นๆ ที่ค้นพบหลายชิ้นไดสูญหายไปบางส่วน
       แหล่งซากดึกดำบรรพ์ช้างโบราณของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จัดได้ว่าเป็น "สุสานช้างโบราณ" ที่โดดเด่นที่สุดในโลก ทั้งนี้เพราะ พบในพื้นที่ที่กว้างกว่า 8,000 ไร่ มีซากดึกดำบรรพ์แรดโบราณ เต่า จระเข้ หอยหินขนาดใหญ่ ไม้และไผ่กลายเป็นหิน ซึ่งสามารถเป็นแหล่งศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งธรณีประวัติและสภาพภูมิศาสตร์ บรรพกาลของท้องถิ่นในยุคสมัยต่างๆ ทางธรณีวิทยาได้อย่างดีเยี่ยม หากมีการอนุรักษ์และพัฒนาที่เหมาะสม คาดว่าจะก่อประโยชน์ด้านการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย ตลอดจนการดำรงชีวิตและสังคมโดยรวม



ไม้กลายเป็นหิน
วิวัฒนาการของพืช
            วิวัฒนาการของพืช  ได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 600 ล้านปีมาแล้ว  โดยเริ่มวิวัฒนาการจากพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและสาหร่ายสีเขียว  เป็นที่ยอมรับกันว่าสาหร่ายสีเขียวที่มีรูปร่างเป็นสาย  เป็นบรรพบุรุษของพืชชั้นสูงปัจจุบัน
          ในช่วงมหายุคพาลีโอโซอิก  ประมาณ 430 ล้านปีมาแล้ว  วิวัฒนาการของพืชมีการเปลี่ยนแปลงจากการที่อยู่ในน้ำทะเลและมหาสมุทรขึ้นมา อยู่บนบก  ทำให้พืชได้เปลี่ยนแปลง รูปร่างลักษณะทั้งภายนอกและภายใน  เพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมบนบก  พืชพวกนี้เป็น     บรรพบุรุษของพืชที่มีท่อลำเลียงในปัจจุบัน  ลักษณะใหญ่ ๆ ที่เปลี่ยนแปลง  ได้แก่
          1.  มีระบบรากซึ่งนอกจากมีหน้าที่ในการดูดอาหารแล้ว  ยังช่วยในการพยุงลำต้นด้วย
          2.  มีระบบท่อลำเลียงน้ำและอาหาร
          3.  ผนังเซลล์ที่ผิวนอกมีสารคิวทินเคลือบอยู่  เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ
          พืชที่มีท่อลำเลียงแรกเริ่ม  มีลักษณะคล้ายพืชในดิวิชันไซโลไฟตา  คือ  มีลำต้นที่อยู่เหนือดินและลำต้นใต้ดินชนิดไรโซม  ไม่มีราก  มีแต่ไรซอยด์  ซึ่งทำหน้าที่แทนราก  ไม่มีใบ  การแตกกิ่งของลำต้นเป็นแบบ 2 แฉก  เมื่อเจริญเต็มที่จะสร้างอับสปอร์ที่ปลายกิ่ง  พืชมีท่อลำเลียงแรกเริ่มนี้  พบจากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ชื่อว่า ไรเนีย (Rhynia)  ซึ่งมีขนาดเล็กมาก    ลำต้นสูงประมาณ 4 นิ้วเท่านั้น  วิวัฒนาการในระยะเวลา 25 ล้านปีต่อมา  เป็นของพวกพืชที่มีลักษณะคล้ายกับไรเนีย (Rhynia)  แต่ มีขนาดใหญ่และสูงกว่า  มีรากและใบที่แท้จริง  แต่ก็ยังมีการสืบพันธุ์โดยใช้สปอร์
ในระหว่างยุคดีโวเนียนของมหายุคพาลี โอโซอิก  พืชได้วิวัฒนาการจากพืชมีท่อลำเลียงแรกเริ่ม  และมีสปอร์ที่มีลักษณะเหมือนกันและขนาดเท่ากัน  (homosporous) มาเป็นพืชมีท่อลำเลียงที่มีสปอร์ 2 ชนิด (heterosporous)  คือ  เมกะสปอร์ (megaspore)  ซึ่งเจริญไปเป็นต้นที่สร้างอวัยวะเพศเมีย (female gametophyte)  และไมโครสปอร์ (microspore)  ซึ่งเจริญไปเป็นต้นที่สร้างอวัยวะเพศผู้  (male gametophyte)  การมีสปอร์สองชนิดนี้เอง  เป็นการนำไปสู่การสืบพันธุ์โดยใช้เมล็ดของพืชมีดอกในปัจจุบัน
พืชที่มี ความเจริญสูงสุดในยุคดีโวเนียน (457-354 ล้านปีก่อน)  คือ พืชที่เป็นบรรพบุรุษของพืชมีท่อลำเลียงชั้นต่ำในปัจจุบัน  คือ  บรรพบุรุษของไซโลตัม (Psilotum),ไลโคโปเดียม  (Lycopodium),  อิควิซีตัม  (Equisetum)  และพวกเฟิร์น  พืชพวกนี้ชอบบรรยากาศที่ชุ่มชื้นและอยู่กันอย่างหนาแน่นเป็นป่าที่เรียกว่า  ป่าคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous forest) ในยุคต่อมา  ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นถ่านหินที่ใช้ในปัจจุบัน  หลังจากการตายทับถมเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี
เมื่อโลกมีบรรยากาศที่แห้ง แล้งขึ้นในยุคต่อมา  พืชมีท่อลำเลียงชั้นต่ำก็สูญพันธุ์ไปเป็นจำนวนมาก  และมีวิวัฒนาการของพืชชนิดใหม่เกิดขึ้นในระหว่างยุคเพอร์เมียน (292-250 ล้านปีก่อน)  ของมหายุคพาลีโอโซอิก  คือ  พืชพวกจิมโนสเปิร์ม (gymnosperm)  หรือพืชเมล็ดเปลือย  ซึ่งชอบอากาศเย็นและแห้งแล้ง  พืชพวกนี้เกิดในตอนปลายมหายุคพาลีโอโซอิก  และมีความเจริญสูงสุดเกือบตลอดมหายุคมีโซโซอิก  ส่วนในช่วงปลายของมหายุคมีโซโซอิก  คือ ช่วง  ยุคครีเทเชียส (145-65 ล้านปีก่อน)  เป็นระยะที่มีวิวัฒนาการเกิดขึ้นรวดเร็วมาก  เพราะมีการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก   จึงมีพืชอีกพวกหนึ่งถือกำเนิดขึ้นมา  คือ  พวกแองจิโอสเปิร์ม (angiosperm)  หรือพืชดอก  ซึ่งสามารถขึ้นได้ในสิ่งแวดล้อมเกือบทุกชนิด  และมีการแพร่พันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูง  จึงทำให้มีความหลากหลายพันธุ์และกระจายกว้างขวางที่สุด  ปัจจุบันพืชมีดอกมีประมาณ  250,000 ชนิด   นับว่ามีจำนวนชนิดมากที่สุดในอาณาจักรพืชทั้งหมด



ลักษณะทางกายวิภาคของไม้
          ไม้อาจจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท  คือ  ไม้เนื้ออ่อน (softwood)  ซึ่งเป็นไม้ที่ได้จากต้นไม้พวกสน  ที่มีลักษณะใบเรียวเล็ก (needle leaves)  มีเนื้อไม้ค่อนข้างอ่อน  ง่ายต่อการ  ไสตบแต่ง  มีน้ำหนักเบา  และแข็งพอที่จะใช้ในงานก่อสร้างโดยทั่วไปได้  ส่วนอีกประเภทหนึ่ง  คือ  ไม้เนื้อแข็ง  เป็นไม้ที่ได้มาจากต้นไม้ใบกว้าง (broad leaves)  เป็นไม้จำนวนมากที่อยู่ในป่าเขตร้อน  ลักษณะโครงสร้างของไม้เนื้อแข็งมีความซับซ้อนมากกว่าไม้เนื้ออ่อน และมีลักษณะแตกต่างระหว่างไม้เนื้อแข็งด้วยกันเองมาก  ทั้งในด้านความแข็งแรงของการรับน้ำหนัก  และความแข็งของเนื้อไม้  อย่างไรก็ตาม  ไม้เนื้ออ่อนบางชนิดอาจแข็งกว่าไม้เนื้อแข็งบางชนิดได้
          เนื้อไม้หรือไม้  มีลักษณะเป็นรูพรุนโดยตลอด  รูเล็กดังกล่าวเรียกว่าเซลล์  ซึ่งมีขนาดแตกต่างกัน  ทั้งรูปลักษณะและความหนาของผนังเซลล์  ส่วนใหญ่เนื้อไม้ประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างยาว  แคบ  กลวง  ถ้าตอนกลางมีลักษณะยาว  หัวแหลมท้ายแหลม  เรียกว่า  ไฟเบอร์  (fiber)
          ต้นและกิ่งก้านของต้นไม้  เจริญเติบโตขึ้นโดยการแบ่งตัวของเยื่อ  ซึ่งประกอบด้วยหมู่เซลล์ที่เรียกว่า แคมเบียม (cambium) อยู่ถัดจากเปลือก  แคมเบียมจะมีการแบ่งตัวผลิตเซลล์ขึ้นใหม่อยู่ตลอดฤดูกาลเจริญเติบโต  โดยเซลล์ที่ผลิตเข้าด้านในกลายเป็นเนื้อไม้ (xylem)  ที่ออกมาด้านนอกเป็นเปลือกใน (phloem)  ซึ่งจะเจริญเติบโตต่อไปเป็นเปลือก
          ในระยะต้นฤดูกาลเจริญเติบโต  เนื้อไม้บางชนิดจะมีรูใหญ่หรือมีขนาดใหญ่กว่าเนื้อไม้ที่เกิดในระยะปลายฤดู  ทำให้เห็นความแตกต่างของการเจริญเติบโตในแต่ละฤดูกาล  บนหน้าตัดของต้นไม้  เรียกว่า  วงเจริญเติบโต (growth ring)  ซึ่งบางทีเรียกว่า วงปี (annual ring)


เซลล์ต่าง ๆ ในเนื้อไม้  มีหน้าที่ 3 ประการ 
 1) ลำเลียงน้ำ  แร่ธาตุเพื่อปรุงอาหาร 
2) เสริมสร้างความแข็งแรงแก่ต้นไม้  
3) สะสมอาหารเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต  โดยไม้เนื้ออ่อนจะประกอบด้วยเซลล์ที่ทำหน้าที่ทั้ง 3 ประการเพียง 2 ชนิด  คือ พาเรนไคมา  (parenchyma) ทำหน้าที่สะสมอาหาร  และเทรคีด (tracheid) ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ  ธาตุอาหารพืชจากรากสู่ใบ  และทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงแก่ต้นไม้ด้วย
         

         ในไม้เนื้อแข็ง  เซลล์ที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและธาตุอาหารพืช  เรียกว่า พอร์ (pore)  ซึ่งมีลักษณะท่อกลวงต่อกันจากล่างสู่บน  มองเห็นเป็นรอยขีดยาวตามความยาวของไม้  เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า  เสี้ยน (grain)  เสี้ยนของไม้บางชนิด  ถ้ามองด้วยตาเปล่าทางด้านหน้าตัด  จะเห็นเป็นรูเล็ก ๆ  แต่สำหรับไม้ที่มีเนื้อละเอียด  ขนาดของพอร์อาจจะมองแทบไม่เห็น  ถ้าไม่ใช้แว่นขยายช่วย  พอร์ในไม้เนื้อแข็งอาจกระจายอยู่ทั่วไป  หรือรวมอยู่เป็นกลุ่มในลักษณะต่าง ๆ กัน  ตามแต่ชนิดของไม้  นอกจากนี้  พอร์ในตอนต้นฤดูการเจริญเติบโต  มักมีขนาดใหญ่กว่าพอร์ตอนปลายฤดู  ทำให้เห็นชัดเป็นวงขอบเขต  เรียกว่า ring-porous  เช่น  ไม้สัก  ไม้ยมหอม  เป็นต้น  แต่ไม้บางชนิด  พอร์จะกระจายอยู่ทั่วไปและไม่แสดงความแตกต่างในขนาดของพอร์ตามฤดูกาล  เรียกว่า  diffuse porous  เช่น  ไม้ยาง  ไม้เคี่ยมคนอง  เป็นต้น  ส่วนเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความแข็งแรงของไม้เนื้อแข็ง  คือ  ไฟเบอร์ (fiber)  ที่มีลักษณะยาว  แคบ   หัวแหลมท้ายแหลม  อาจมีผนังเซลล์หนาหรือบาง  แล้วแต่ชนิดของไม้  ไฟเบอร์เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของไม้เนื้อแข็ง  มีขนาดเล็ก  มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า  ถ้ามองด้วยกล้องจุลทรรศน์จะเห็นลักษณะเหมือนกับเทรคีดในไม้เนื้ออ่อน  แต่โดยทั่วไปจะมีขนาดสั้นกว่าเทรคีด    สำหรับหน้าที่ในการสะสมอาหาร  เป็นหน้าที่ของหมู่เซลล์พาเรนไคมา  หรือเยื่ออ่อน   (soft tissue)  เช่นเดียวกับไม้เนื้ออ่อน
         
          การตรวจ พิสูจน์ไม้หรือการจำแนกไม้กลายเป็นหิน  ใช้วิธีการตรวจหรือเปรียบเทียบลักษณะทางกายวิภาคของไม้ดังกล่าวแล้ว  ในเบื้องต้นจะใช้แว่นขยายส่องดูเนื้อไม้ด้านหน้าตัด  เพื่อดูโครงสร้างของเนื้อไม้ที่เกิดจากหมู่เซลล์ชนิดต่าง ๆ  ที่ทำหน้าที่ทั้ง 3 ประการดังกล่าวแล้ว  โดยหมู่เซลล์ที่สำคัญที่ใช้ในการพิสูจน์หรือจำแนก  โดยเฉพาะไม้เนื้อแข็ง  ซึ่งมองเห็นได้ชัดจากการใช้แว่นขยาย  มี  2 ชนิด  คือ  พอร์หรือเวสเซล (vessels) กับพาเรนไคมา  เช่น  พอร์ในเนื้อไม้ที่มีลักษณะเดี่ยว ๆ  ไม่ติดกับพอร์อื่นๆ  จะพบในไม้กระบาก  ไม้ยาง  ไม้ชุมแสง เป็นต้น  หรือพาเรนไคมาที่เป็นคลื่นขวางเสี้ยน  จะพบในไม้ประดู่ ไม้พะยุง ไม้ชิงชัง  เป็นต้น   

  
วงการเจริญเติบโตของพืช  (Growth Ring in Plants)
          สิ่งที่รู้จักกันเกี่ยวกับบันทึกธรรมชาติของฤดูกาลในอดีต  คือ  วงการเจริญเติบโตในพืช  โดยความกว้างและขนาดช่องว่างภายในเซลล์ของแถบวงการเจริญเติบโต  จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ    แสงแดด  และความชื้นในฤดูกาลต่าง ๆ ของปี  แต่ละวงจะประกอบด้วย 2 ส่วน  ส่วนที่เรียกว่าเนื้อไม้ในฤดูร้อน  (summer wood)  ขนาดของเซลล์ในเนื้อไม้จะเล็ก  ผนังเซลล์หนา  ทำให้เห็นเนื้อไม้เป็นสีคล้ำ  ขณะที่ส่วนเนื้อไม้ในฤดูใบไม้ผลิ (spring wood)  ขนาดของเซลล์จะใหญ่กว่า   และผนังเซลล์จะบางกว่าทำให้เห็นเนื้อไม้เป็นสีจาง
          ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับวงการเจริญเติบโตของพืช  เพื่อการกำหนดอายุ เรียกว่า  Dendrochronology  เป็นศาสตร์ที่มีส่วนช่วยในการกำหนดอายุของแหล่งโบราณคดีต่าง ๆ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตแห้งแล้งทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา  ซึ่งไม้จะถูกรักษาให้คงสภาพเดิมไว้  สามารถใช้กำหนดอายุแหล่งโบราณคดีย้อนไปในอดีตถึง 1,550 ปีก่อน    คริสตศักราช
          ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา  ต้นซีควายา (sequoia)  เป็นต้นไม้ที่เคยได้รับการยอมรับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด ในโลกมาก่อน  เพราะสามารถบันทึกสภาพอากาศย้อนถอยหลังไปได้ถึง 3,000 ปี  แต่ต่อมาพบว่าไพน์ชนิดหนึ่ง (bristlecone pine)  ซึ่งพบในเขตแห้งแล้งหลายบริเวณของแคลิฟอร์เนีย  เนวาดาและยูทาห์  เป็นพรรณไม้ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก  เพราะจากการศึกษาวงปี  พบว่า  บางต้นมีอายุไม่ต่ำกว่า 4,600 ปี  ซึ่งจะสามารถบันทึกสภาพอากาศอย่างต่อเนื่องได้ยาวนานมากกว่า 


 ประเภทและชนิดของไม้กลายเป็นหิน
          ไม้กลายเป็นหินที่พบในทวีปต่าง ๆ อาจจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภทหรือพวกเหมือนพืชปัจจุบัน  คือ
          1.  ไม้กลายเป็นหินพวกเฟิร์น (fern)  และพวกที่เกี่ยวข้องกับเฟิร์น (fern allied)  เช่น พวกไลโคพอด (lycopod)  ไซโลไฟตัน (Psilophyton)  อิควิซีตัม (Equisetum)  เป็นต้น
          2.  ไม้กลายเป็นหินพวกพืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm)  ได้แก่ ไม้พวกปรง (cycad)   สน (pine)  กิงโก (ginkgo)  เป็นต้น
          3.  ไม้กลายเป็นหินพวกพืชดอก (angiosperm) พบเป็นจำนวนมาก  และที่วิวัฒนาการมาจนถึงสมัยปัจจุบันมีมากกว่า 250,000 ชนิด  พบเป็นซากดึกดำบรรพ์รูปแบบต่าง ๆ  มากกว่า 30,000 ชนิด  จำแนกย่อยออกได้เป็น 2 พวกย่อย  คือ
              3.1  ไม้กลายเป็นหินพวกพืชใบเลี้ยงคู่ (dicotyledon)  ได้แก่  พวกไม้ยาง  กะบาก  มะค่าโมง  ตะเคียน  พฤกษ์   สนทะเล (Casuarina  aquisetifolia)  สนประดิพัทธ์  (Casuarina  junghuhniana)  โอ๊ค (oak)  เมเปิล (maple)  เป็นต้น
              3.2  ไม้กลายเป็นหินพวกพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (monocotyledon)  เช่น  พวกปาล์ม  ตาลมะพร้าว  หมาก  เป็นต้น



ลักษณะของไม้ กลายเป็นหิน
          เนื่องจากไม้กลายเป็นหิน  เกิดจากสารละลายแร่ธาตุตกตะกอนในช่องว่างหรือแทนที่สารอินทรีย์เดิมในระดับ โมเลกุล  ดังนั้น  รูปร่างและโครงสร้างเดิมของไม้จึงยังคงปรากฏให้เห็น  ได้แก่  ลักษณะเนื้อไม้หรือเสี้ยนไม้  ตุ่มและตาไม้  วงปี  รูปร่างที่คล้ายต้นไม้หรือท่อนไม้      เป็นต้น  ลักษณะเนื้อไม้ดังกล่าว  โดยเฉพาะลักษณะที่เป็นรูพรุนหรือเซลล์ไม้  ที่มีขนาด  รูปแบบและความหนาของผนังเซลล์แตกต่างกัน  ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะชนิดไม้  คล้ายลายมือที่ไม่เหมือนกันของแต่ละบุคคล  ดังนั้น  จึงเป็นเครื่องช่วยในการจำแนก  วงศ์  สกุลและชนิดของไม้กลายเป็นหินได้


อนุกรมวิธานของไม้กลายเป็นหิน

            อนุกรมวิธาน (taxonomy)  หมายถึง  ทฤษฎีและข้อปฏิบัติในการจำแนกหมวดหมู่ของพืชและสัตว์  โดยมีการเรียงลำดับชั้นจากหน่วยที่ใหญ่ที่สุด  ลงไปหาหน่วยที่เล็กกว่าเป็นลำดับ  คือ  อาณาจักร (kingdom)  ไฟลัม (phylum)  ชั้น (class)  อันดับ (order)  วงศ์ (family)    สกุล (genus)  และชนิด (species)
          ดังนั้น  อนุกรมวิธานพืชและสัตว์  จึงหมายถึง  การจำแนกพืชและสัตว์นั่นเอง  โดยในส่วนของอนุกรมวิธานพืช  ถือได้ว่าเป็นแม่บทของวิชาพฤกษศาสตร์ (botany)  เพราะก่อนที่จะเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ของพืช  จำเป็นต้องรู้ชื่อและลักษณะเด่น ๆ ของพืชนั้นเสียก่อน  และหากเริ่มต้นด้วยชื่อของพืชที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงตามชนิดแล้ว   ผลงานการศึกษาหรือวิจัยย่อมไร้คุณค่าโดยสิ้นเชิง
          อนุกรมวิธานไม้กลายเป็นหิน  หมายถึง  การจำแนกไม้กลายเป็นหิน  ซึ่งมีขั้นตอนการศึกษา  เช่นเดียวกับอนุกรมวิธานพืช  คือ  มีการวิเคราะห์หรือพิสูจน์ชนิดพืชโดยการเปรียบเทียบ  และการบัญญัติชื่อทางพฤกษศาสตร์ที่เป็นสากล  การจำแนกเป็นหมวดหมู่  การบรรยายลักษณะ  และการระบุความสัมพันธ์กับพรรณไม้อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
          ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินในโลก  ที่ได้รับการจำแนกตามระบบอนุกรมวิธาน      มีจำนวนมากมาย  และมีการจำแนกมานานนับร้อยปี  เช่น  การจำแนกไม้กลายเป็นหินในอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน  รัฐไวโอมิง  สหรัฐอเมริกา  โดย  Dr. F.H. Knowlton ตั้งแต่  ค.ศ.1899  ตัวอย่างของพืชที่จำแนกได้  เช่น ต้นเซควายา (sequoia) ชนิด Sequoia magnifica  เป็นต้น  สำหรับประเทศไทย  มีการจำแนกตั้งแต่  ค.ศ.1969  โดยปรากฏในเอกสาร  “Fossil of Thailand”  ของกรมทรัพยากรธรณี  เป็นพืชเนื้อเยื่อลำเลียงโบราณในสกุล  Neocalamites sp. Halle  พบในหินทรายเนื้อละเอียดปนปูน  สีดำ  ที่ห้วยหินลาด กม.108  ถนนขอนแก่น-เลย   อำเภอชุมแพ  จังหวัดขอนแก่น  อายุอยู่ในยุคไทรแอสซิกช่วงปลาย  หรือประมาณ 220 ล้านปีก่อน
แหล่งไม้กลายเป็นหินของโลก
          ไม้กลายเป็นหินพบในทุกทวีป  แม้กระทั่งทวีปแอนตาร์กติก  และแหล่งสำคัญปรากฏในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 10 ประเทศ  โดยประเทศที่พบมากที่สุด  คือ  สหรัฐอเมริกา  ซึ่งพบมากกว่า 10 รัฐ  ที่สำคัญ  คือ  รัฐอริโซนา  เซาท์ดาโกตา  วอชิงตัน  นิวยอร์ค  แคลิฟอร์เนีย ไวโอมิง  มิสซิสซิปปี ฯลฯ  สำหรับประเทศอื่น ๆ  ได้แก่  กรีซ  อาร์เจนตินา  อังกฤษ  อียิปต์   นามิเบีย  ออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์  อินเดีย  สาธารณรัฐประชาชนจีน  ไทย ฯลฯ 

แหล่งไม้กลายเป็นหินของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ          ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน  พบได้ในหลายท้องที่ของประเทศไทย  แต่แหล่งใหญ่ที่สุดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จังหวัดที่พบมากที่สุด  คือ  จังหวัดนครราชสีมา  รองลงมา  คือ  จังหวัดขอนแก่น  บุรีรัมย์  ชัยภูมิ  สุรินทร์  อุบลราชธานี  กาฬสินธุ์  เป็นต้น
          แหล่งไม้กลายเป็นหินของภาคอีสาน  อาจจำแนกได้ตามชุดชั้นหิน (หมวดหิน) หรือชั้นตะกอนต่าง ๆ ที่พบไม้กลายเป็นหิน  ดังนี้
          1.  หมวดหินห้วยหินลาด  มีอายุประมาณ 220 ล้านปีก่อน  หรืออยู่ในช่วงตอนปลายยุคไทรแอสซิก  ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินทราย  หินดินดาน  สีเทา-ดำ ไม้กลายเป็นหินที่พบอยู่ในหินทราย  เนื้อละเอียดปนปูนสีดำ  พบในเขตอำเภอชุมแพ  จังหวัดขอนแก่น
          2.  หมวดหินภูกระดึง  มีอายุประมาณ 170 ล้านปีก่อน  หรืออยู่ในช่วงตอนปลายของยุคจูแรสซิก  ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินดินดาน  หินทรายแป้ง  มีสีม่วงแดงเป็นส่วนใหญ่  อาจมีหินทรายและหินกรวดมนปนปูนสลับอยู่บ้าง  พบไม้กลายเป็นหินพวกจิมโนสเปิร์ม  หรือพืชเมล็ดเปลือย  ในเขตตำบลคลองม่วง  อำเภอปากช่อง  เขตตำบลวังน้ำเขียว  ตำบลวังหมี  อำเภอวังน้ำเขียว  จังหวัดนครราชสีมา
          3.  หมวดหินพระวิหาร  มีอายุประมาณ 140 ล้านปีก่อน  หรืออยู่ในช่วงตอนต้นยุค  ครีเทเชียส  ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินทรายสีน้ำตาลอ่อน  ไม้กลายเป็นหินที่พบจะเป็นพวกเนื้อซิลิกา (silicified wood)  โดยพบในหินทรายตอนบนสุดของหมวดหินพระวิหาร  (Ward &  Bunnag, 1964)  แหล่งที่พบ  คือ  ตำบลคลองไผ่  อำเภอสีคิ้ว  จังหวัดนครราชสีมา
          4.  หมวดหินเสาขัว  มีอายุประมาณ 130 ล้านปีก่อน หรือในช่วงตอนต้นยุคครีเทเชียส    ประกอบด้วยหินทรายไมกา  สีน้ำตาลแดงหรือสีเทา   หินทรายแป้งหรือหินทรายกรวดมน  สีน้ำตาล  หรือสีเทา  พบท่อนไม้กลายเป็นหินในหมวดหินนี้ที่อำเภอภูเวียง  จังหวัดขอนแก่น  (นเรศ  สัตยานุรักษ์ : ติดต่อส่วนตัว)
          5.  หมวดหินภูพาน  มีอายุประมาณ 120 ล้านปีก่อน  หรืออยู่ในช่วงตอนต้นยุค       ครีเทเชียส  ส่วนใหญ่ประกอบด้วย  หินทราย  หินทรายปนกรวด  หินกรวดมน  สีขาว เทาอ่อน   ส้มอ่อน  พบท่อนไม้กลายเป็นหินจากหินทรายที่ผุสลายตัวแล้ว  ในเขตตำบลบึงปรือ  กิ่งอำเภอเทพารักษ์  จังหวัดนครราชสีมา 
          6.  ชั้นตะกอนกรวดมนในที่ดอนหรือเนินกรวด  มีอายุอยู่ในช่วง 16-0.8 ล้านปีก่อน  หรืออยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนกลางถึงสมัยไพลสโตซีนตอนต้น  เป็นแหล่งไม้กลายเป็นหินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย  มีพื้นที่ที่สามารถพบได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 2,000 ตารางกิโลเมตร (1.25  ล้านไร่)  ตะกอนประกอบด้วยกรวดที่เป็นแร่ควอร์ตซ์  เชิร์ต  หินทราย หินควอร์ตซ์ไซต์และไม้กลายเป็นหินทั้งที่เป็นท่อนใหญ่  บางท่อนยาวถึง  20  เมตร  จนถึงชิ้น  ส่วนเล็กที่มีขนาดกรวด  แนวของชั้นกรวดดังกล่าวนี้  พบมากในแอ่งโคราชด้านเหนือพบตั้งแต่
อำเภอ น้ำพอง  จังหวัดขอนแก่น  และเป็นแนวค่อนข้างขนานกับเทือกเขาภูพานลงมาจนถึงอำเภอเมือง ฯ  จังหวัดกาฬสินธุ์  อำเภอป่าติ้ว  จังหวัดยโสธร  ส่วนแอ่งโคราชด้านใต้เป็นแนวยาวตั้งแต่อำเภอสูงเนิน  ขามทะเลสอ  เมืองนครราชสีมา  โชคชัย  เฉลิมพระเกียรติ  ชุมพวง  ลำทะเมนชัย  เข้าไปในเขตอำเภอคูเมือง  สตึก  จังหวัดบุรีรัมย์  จนถึงอำเภอท่าตูม  จังหวัดสุรินทร์ 
          7.  ชั้นตะกอนกรวดทรายในที่ราบน้ำท่วมถึง  มีอายุอยู่ในช่วง 10,000 ปีก่อนจนถึงปัจจุบัน  หรืออยู่ในสมัยโฮโลซีน  เป็นตะกอนที่สะสมตัวในทางน้ำพบในบริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำมูล  แม่น้ำชี  ความหนาตะกอนเฉลี่ยประมาณ 30 เมตร  ประกอบด้วยกรวด  ทราย     ดินเหนียวมักคลุกเคล้าปนกัน  น้ำบาดาลส่วนใหญ่เป็นน้ำกร่อย  น้ำเค็ม  แหล่งที่พบไม้กลายเป็นหินมาก  คือ  บริเวณบ่อทรายริมแม่น้ำมูล  ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ  พิมาย   ชุมพวง  จังหวัดนครราชสีมา  ซึ่งบางบ่อมีความลึกถึง 40 เมตร  พบซากดึกดำบรรพ์ไม้ตั้งแต่สภาพที่ยังเป็นเนื้อไม้  ในช่วงที่ตื้นกว่า 15 เมตร  จนถึงสภาพที่เริ่มกลายเป็นหิน  และเป็นหินทั้งหมด  แต่สีดำคล้ายถ่านไม้  ในช่วงความลึก 15-30 เมตร  ส่วนช่วงความลึก 30-40  เมตร    จะเป็นไม้กลายเป็นหินสีน้ำตาลเหลือง  ขนาดของไม้มีตั้งแต่ขนาดกรวด  จนถึงเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร  และยาวมากกว่า 10 เมตร  ไม้กลายเป็นหินจากบ่อทราย  ในแหล่งนี้มีอายุแตกต่างจากตะกอนตอนบนที่เป็นตะกอนลำน้ำสมัยปัจจุบัน  คือ  คาดว่าอายุอยู่ในช่วง 16-0.8  ล้านปีก่อน  ตามอายุของซากช้างดึกดำบรรพ์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ที่พบอยู่ในบ่อเดียวกัน  

สภาพแวดล้อมโบราณของไม้กลาย เป็นหิน
          ไม้กลายเป็นหินส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  พบในชั้นตะกอนกรวดตามตะพักลำน้ำ  ที่ค่อนข้างขนานกับแม่น้ำมูลและแม่น้ำชี  สันนิษฐานว่า  แนวตะกอนกรวดดังกล่าว  คือ แนวร่องน้ำโบราณขนาดใหญ่ 2 สาย  ที่ไหลอยู่ในแอ่งโคราช  ในสมัยไมโอซีนตอนกลางถึงไพลสโตซีนตอนต้น (16-0.8 ล้านปีก่อน)  โดยไหลจากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก  ตะกอนกรวดส่วนใหญ่เป็นแร่ในตระกูลควอร์ตซ์  ได้แก่  แร่ควอร์ตซ์  เชิร์ต  ฟลินต์  แจสเปอร์  ตะกอนกรวดดังกล่าวมีขนาดใหญ่ในเขตทางตะวันตก  และค่อย ๆ เล็กลงในเขตทางตะวันออก  มีลักษณะกึ่งมนจนถึงมน  มีการคัดขนาดดีปานกลาง  จัดเป็นตะกอนกรวดน้ำพาที่ตกตะกอนในบริเวณร่องแม่น้ำ  และมีต้นน้ำอยู่ในเขตภูเขาทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด นครราชสีมา  ทางตะวันออกของจังหวัดสระบุรีและลพบุรี  แม่น้ำโบราณดังกล่าวมีขนาดใหญ่กว่าแม่น้ำมูลและแม่น้ำชีปัจจุบัน  เพราะสามารถพัดพากรวดหรือหินมนเล็ก  ซึ่งเป็นตะกอนที่มีขนาดใหญ่กว่าตะกอนทรายของแม่น้ำทั้งสองในปัจจุบันได้  รวมทั้งท่อนไม้ซุง  ไม้ขนาดใหญ่ที่บางท่อนมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 1 เมตร  ยาวมากกว่า 20 เมตร  การทับถมของตะกอนกรวดและท่อนไม้ในร่องน้ำ  ภายใต้น้ำใต้ดินที่มีสารละลายซิลิกาเป็นปริมาณมาก  ทำให้ไม้ที่ถูกฝังกลายเป็นหินในที่สุด  และเนื่องจากเป็นไม้จำพวกสมอ  รกฟ้า  ยาง  กฤษณา  พฤกษ์      ขะเจาะ  เขล็ง  มะค่าโมง  ปาล์ม ฯลฯ  แสดงว่าลักษณะภูมิอากาศช่วงเวลาดังกล่าว  เป็นแบบชื้นสลับแล้งคล้ายปัจจุบัน  เพราะพรรณไม้ดังกล่าวเป็นพรรณไม้ตั้งแต่ป่าเต็งรัง  ป่าเบญจพรรณ  รวมทั้งป่าดงดิบในพื้นที่ใกล้แม่น้ำและตามภูเขาสูง  นอกจากนี้  บริเวณที่ไกลไปจากแม่น้ำใหญ่  อาจจะเป็นป่าทุ่ง (savanna)  เพราะในชั้นตะกอนกรวดระดับลึกจากผิวดินในบางบริเวณ  พบซากดึกดำบรรพ์ของม้า  ยีราฟ  กวางแอนติโลป  สัตว์วงศ์วัว  และเสือเขี้ยวดาบ (Homotherium) ด้วย 

กำเนิดไม้กลายเป็น หินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ           ปัจจุบัน  กำเนิดไม้กลายเป็นหินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มี  2  สมมุติฐาน  คือ
          1.  สมมุติฐานการเกิดจากสารละลายที่มาจากหินที่เป็นด่าง  กล่าวคือ  เมื่อต้นไม้หรือกิ่งไม้  รวมทั้งตะกอนกรวด  ทราย  ดินเหนียว  ถูกกระแสน้ำหลากท่วมพัดพามาและตกจมในบริเวณที่เป็นท้องแม่น้ำโบราณขนาดใหญ่  หากน้ำใต้ดินบริเวณดังกล่าวมีสภาพเป็นด่าง  เพราะไหลผ่านหรืออยู่ใกล้หินที่ให้กำเนิดสารละลายด่าง  เช่น  หินกรวดมนปนปูนในหมวดหินโคกกรวด  หรือหินที่มีเกลือต่าง ๆ ในหมวดหินมหาสารคาม  สารละลายดังกล่าว  จะละลาย    ซิลิกาหรือเนื้อกรวดทรายออกมาได้ดี  ทำให้ไม้จมหรือแช่ตัวอยู่ในน้ำใต้ดินที่มีซิลิกาสูง  ต่อมาหากในบริเวณนั้นมีสภาพเป็นกรด  หรือเนื้อไม้มีฤทธิ์เป็นกรด  ก็จะทำให้สารละลายด่างมีฤทธิ์เป็นกลาง  เป็นผลให้ซิลิกาในน้ำตกตะกอนเป็นซิลิกาที่เป็นของแข็ง  เนื้อไม้เดิมจึงค่อย ๆ  มีการตกผลึกหรือถูกแทนที่ด้วยซิลิกา  จนกระทั่งแทนที่ทั้งหมด 
          หากซิลิกาที่เข้าไปแทนที่เนื้อไม้  ยังมีน้ำปะปนอยู่ทำให้เกิดโอปอ  (SiO2 nH2O)  ขึ้น  ส่วนใดที่ซิลิกาแทนที่  และมีน้ำไม่เพียงพอหรือน้ำเหือดแห้งจางไป  ส่วนนั้นของไม้ก็จะเป็นเนื้อแร่คาลซิโดนี  (SiO2)  ที่มีผลึกเล็กละเอียดเป็นเสี้ยน  (มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า)  นอกจากนี้  ในสารละลายซิลิกาเดิม  อาจมีแร่ธาตุอื่น ๆ  ที่ถูกละลาย  หรือชะพามาจากบริเวณใกล้เคียงอีกหลายชนิด  เช่น  ธาตุเหล็ก  ทองแดง  แมงกานีส  ยูเรเนียม  เป็นต้น  ร่วมอยู่ด้วยและซึมซาบเข้าไปในเนื้อไม้ได้เช่นกัน  แร่ธาตุดังกล่าวอาจตกผลึกฝังอยู่ในเนื้อไม้นั้น  เป็นผลให้เกิดสนิมหรือมลทินของแร่ธาตุต่าง ๆ  เหล่านั้นปะปนอยู่ในเนื้อไม้ที่กลายเป็นหิน  ไม้กลายเป็นหินจึงเกิดเป็นสีสันต่าง ๆ  มากมาย  เช่น  แดง  เหลือง  น้ำตาล  แดงอมเหลือง  เหลืองอมแดง  ดำ  หรือสีอื่น ๆ  ที่เกิดจากการผสมผสานของธาตุดังกล่าว
          2.  สมมุติฐานการเกิดจากสารละลายที่มาจากน้ำแร่ร้อน  (hydrothermal solution)  กล่าวคือ  ไม้ที่ถูกพัดพาและตกจมในบริเวณที่มีอิทธิพลของน้ำแร่ร้อนใต้ผิวโลก  ซึ่งไหลซึมผ่านแนวรอยแตกของหินหรือชั้นตะกอน  สารละลายน้ำร้อนดังกล่าว จะอิ่มตัวด้วยซิลิกา  เมื่อไหลปะปนกับน้ำใต้ดิน  จึงเกิดการตกตะกอนหรือการแทนที่ของซิลิกาในเนื้อไม้ที่สะสมตัวอยู่ในตะกอน และแช่อยู่ในน้ำใต้ดินดังกล่าว  โดยหลักฐานร่องรอยของสารละลายน้ำร้อนตามแนวรอยแตก  ปรากฏอยู่ในตะกอนตะพักหลายแห่ง  เช่น  บริเวณบ้านภูเขาทอง  ตำบลไชยมงคล   บ้านมาบเอื้องและบ้านโกรกเดือนห้า  ตำบลสุรนารี  โดยเฉพาะในแหล่งหลังนี้  พบชั้นซินเตอร์ (sinter)*  หนา 30-50 เซนติเมตร  วางอยู่ใต้ชั้นกรวดทรายตะพักลำน้ำ  และอยู่บนหินทรายสีน้ำตาลแดงของหมวดหินโคกกรวด  ชั้นซินเตอร์ดังกล่าว  พบแร่คริสโทบาไลต์ (cristobalite) และแร่ไทรมิไดต์ (trimidite)  (กรมทรัพยากรธรณี, 2545)  ซึ่งเป็นแร่ที่มีองค์ประกอบทางเคมีเหมือนแร่ควอร์ตซ์ (SiO2)  แต่มีรูปผลึกต่างกันและตกผลึกจากสารละลายที่มีอุณหภูมิสูงกว่า  นอกจากนี้  ในเขตอีสานใต้  ตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี  มีหลักฐานของกิจกรรมภูเขาไฟ  ทั้งในรูปของปล่องภูเขาไฟ  เช่น  ภูเขาไฟกระโดง  หรือภูเขาไฟพนมรุ้ง  ในจังหวัดบุรีรัมย์  หรือรูปแบบการแทรกดันของลาวาขึ้นมาตามรอยแตกและแข็งตัวเป็นที่สูงหินบะ ซอลต์ เช่น เขาพลอยแหวน ในเขตอำเภอโชคชัย  จังหวัดนครราชสีมา กิจกรรมการแทรกดันตัวของสารละลายน้ำร้อน  มักจะเกิดร่วมกันกับกิจกรรมการแทรกดันตัวของลาวาหรือภูเขาไฟดังกล่าว    อย่างไรก็ตาม  สมมุติฐานนี้อาจไม่สามารถอธิบายการเกิดไม้กลายเป็นหินในลุ่ม แม่น้ำชีได้  เพราะยังไม่พบหลักฐานกิจกรรมของภูเขาไฟในบริเวณดังกล่าว  ซึ่งคงจะมีการศึกษาในเรื่องกำเนิดไม้กลายเป็นหินต่อไป

ชนิดของไม้กลาย เป็นหินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
          ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินในประเทศไทย  ได้รับการจำแนกน้อยมาก  แม้จะพบเป็นจำนวนมาก  ทั้งนี้เพราะประเทศไทยยังไม่มีนักพฤกษศาสตร์บรรพกาล (paleobotanist)  อย่างไรก็ตาม  ในปี  พ.ศ. 2546  มีนักศึกษาปริญญาเอกสาขาชีววิทยาสิ่งแวดล้อม  จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  ซึ่งปัจจุบัน  คือ  ดร.ประมุข  เพ็ญสุต  หัวหน้าสำนักปลูกบำรุงสวนพฤกษศาสตร์สิริกิติ์  จังหวัดเชียงใหม่  นับเป็นคนไทยคนแรกที่ทำวิจัยเพื่อการจำแนกชนิดไม้กลายเป็นหิน  โดยมีประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เป็นนักโบราณชีววิทยา (paleobiologist)  ชาวอเมริกัน คือ ดร. พอล เจ. โกรดิ (Dr. Paul J. Grote)  ซึ่งจากผลการวิจัยไม้กลายเป็นหินในแหล่งต่าง ๆ  ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  พบไม้กลายเป็นหิน 10 วงศ์ 15 สกุล 18 ชนิด

พิพิธภัณฑ์ไม้กลาย เป็นหิน บ้านโกรกเดือนห้า
        ซึ่งอยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา คาดว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินแห่งแรก และแห่งเดียวของทวีปเอเชีย รวมทั้งเป็น 1 ใน 7แห่งของโลก พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินและธรณีวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ ในที่ดินสาธารณะ 80 ไร่ 2 งาน 15 ตารางวา ของบ้านโกรกเดือนห้า ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2543 


การเกิดปรากฏการณ์ไม้กลายเป็นหิน ไม้กลายเป็นหิน (Petrified Wood) เป็นซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลของพืชโบราณที่มีอายุนับหมื่นปีไปจนถึงหลายร้อย ล้านปีก่อน โดยกำเนิดจากไม้ที่ถูกฝังลึกอยู่ใต้ดิน และมีสารละลายน้ำใต้ดินแทรกซึมเข้าไปตกตะกอนหรือตกผลึกเป็นแร่แทนที่เนื้อ ไม้ที่ค่อย ๆ ผุสลายตัว จนกระทั่งแทนที่ทั้งหมดและกลายเป็นหิน เนื่องจากมีแร่องค์ประกอบและสารมลทินต่าง ๆ กัน ไม้กลายเป็นหินจึงมีหลากหลายสีสัน นอกจากนี้แล้วยังได้ขุดค้นพบซากฟอสซิลช้างประมาณ 8 สกุลด้วยกัน เช่น ช้างกอมโฟธีเรียม ช้างโปรไดนธีเรียม ช้างโปรตานันคัสช้างสเต ช้างสเตโกดอน เป็นต้น

1 ความคิดเห็น:

  1. พื้นที่ในตำบลท่าช้างและ ตำบลช้างทอง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา มีการพบซากดึกดำบรรพ์ (FOSSIL) ที่เป็น กระดูก ฟัน งา จำนวนมาก เป็นหลักฐานที่แสดงว่าบริเวณพื้นที่ประมาณ ๖พันไร่นั้น ในโลกยุคก่อนเมื่อประมาณ ๒๕ ล้านปี บริเวณนี้เคยเป็นแหล่งที่อยู่ของช้างดึกดำบรรพ์มาก่อน และ พบว่ามีหลายสกุลที่สูญพันธ์ไปแล้วอยู่จำนวนมาก คาดว่ามีไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เชือก

    ซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นชิ้นส่วนของช้าง โบราณนั้น ได้มาจากบ่อ ทรายหรือเหมืองทรายหลายแห่งในพื้นที่ตำบลท่าช้างและตำบลช้างทอง จากการตรวจสอบโดยศาสตราจารย์ จัง จาคส์ เจเจร์ นักโบราณคดีชีววิทยา จากประเทศฝรั่งเศส ดร.วราวุธ สุธีธร และดร.เยาวลักษณ์ ชัยมณี นักโบราณชีววิทยา ของกรมทรัพยากรธรณี พบว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ชิ้นส่วนของช้างโบราณที่เป็นส่วนกระดูก งา ขากรรไกรและฟันกราม ของช้างสกุลต่างๆ ได้แก่

    1.ช้างกอมโฟธีเรียม ช้างโบราณที่มี ๔ งา มีอายุอยู่เมื่อ ๒๕-๑๓ ล้านปี

    2. ช้างสเตโกโลโฟดอน ช้างโบราณมีงาคู่บน ๑ คู่ มีอายุอยู่เมื่อ ๒๕ -๕ ล้านปี

    3. ช้างไดโนธีเรียม ช้างโบราณที่มีงา ๑ คู่อยู่ด้านล่างในลักษณะงาจอบ มีอายุอยู่เมื่อ ๒๕-๑.๗ ล้านปี

    4. ช้างสเตโกดอน ช้างโบราณที่มีงาคู่บน ๑ คู่ มีอายุอยู่เมื่อ ๕-๐.๐๑ ล้านปี
    5. ช้างพาลีดอโลโซดอนและช้างเอลลิฟาส ช้างโบราณที่เป็นสกุลของช้างในยุคปัจจุบันอีกด้วย

    6. นอกจากนี้ยังได้พบซากดึกดำบรรพ์ที่ เป็นชิ้นส่วนของช้างโบราณในพื้นที่อื่นๆ อีก คือพบในเหมืองถ่านหิน จังหวัดลำปาง ลำพูน พะเยา เป็นต้น ทำให้ได้ข้อมูลว่า พื้นที่แหล่งนี้เคยเป็นที่อยู่ของช้างดึกดำบรรพ์เช่นกัน แต่มีจำนวนน้อยกว่าที่พบในจังหวัดนครราชสีมา

    ----------เช่นเดียวกัน ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติที่พบซากดึกดำบรรพ์ของชิ้นส่วนช้างโบราณนั้น ได้พบซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นชิ้นส่วนของแรดโบราณ จระเข้โบราณ หอยหินขนาดใหญ่ ต้นไม้และไผ่ที่กลายเป็นหิน และโครงกระดูกมนุษย์สมัยดึกดำบรรพ์หรือก่อนประวัติศาสตร์

    ----------อันเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงการเป็น แผ่นดินในโลกยุดดึกดำบรรพ์ ที่วิวัฒนาการแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตมาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์และยุคช้าง ดึกดำบรรพ์มาจนถึงยุคมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์

    ----------บริเวณส่วนที่เป็นพื้นที่ชายทะเลใน อ่าวไทยนั้น ได้สำรวจพบว่าเคยเป็นแหล่งน้ำจืดมาก่อน จากหลักฐานสุสานหอยที่พบบริเวณ ชายทะเลบ้านแหลมโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ปรากฏว่าเป็น ทรากหอยขมสกุลวิวิพารัส (VIVIPARIS) ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดครั้งโลกยุคดึกดำบรรพ์ซึ่งมีจำนวนมากจนทับถม กันเป็นแผ่นบนชั้นถ่านหิน มีอายุอยู่ประมาณ ๒๕–๗๕ ล้านปี

    ----------และที่เหมืองถ่านหินลิกไนท์ บ้านหนองปูดำ อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ นั้นได้ขุดพบซากหินของลิงดึกดำบรรพ์ที่กลายเป็นฟอสซิลแล้ว ปรากฏว่าเป็นลิงชนิด “สยามโมพิเคทัสอีโอซีนิค” คือลิงที่มีลักษณะคล้ายลิงอุรังอุตัง เกิดขึ้นบนโลกเมื่อประมาณ ๓๕–๔๐ ล้านปี ซึ่งถือว่าเป็นสายพันธ์เดียวกับมนุษย์วานร เป็นหลักฐานสำคัญชิ้นเดียวที่มีอายุเก่าแก่เช่นเดียวกับมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์ ที่มีการขุดพบกระโหลกมนุษย์ชวาที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเชีย และโครงกระดูกของมนุษย์ปักกิ่งที่ประเทศจีน

    ตอบลบ