กองช่าง เทศบาลตำบลโคกสูง จังหวัดนครราชสีมา

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ซากดึกดำบรรพ์-ช้างโบราณ


         ซากดึกดำบรรพ์ช้างโบราณที่ค้นพบมี 5 สกุล คือ
        1) ช้าง "กอมโฟเธอเรียม" (Gomphotherium) หรือช้าง 4 งา เป็นช้างดึกดำบรรพ์ที่เคยพบซากดึกดำบรรพ์ในยุโรป เอเชีย (จีน พม่า อินเดีย ไทย) อเมริกาเหนือและใต้ มีงวงสั้นกว่่าช้างปัจจุบัน มีงาตรง 2 คู่ งาคู่หนึ่งงอกออกจากขากรรไกรบน งาอีกคู่หนึ่งออกจากขากรรไกรล่าง กะโหลกและคอยาว ช้างในสกุลนี้มีหลายสิบชนิด มีความสูงถึงไหล่ตั้งแต่ 1-3 เมตร เป็นช้างที่วิวัฒนาการมาจากช้างรุ่นแรกๆ บนดินแดนอียิปต์ที่มีชนาดเท่าหมูใหญ่ที่ชื่อเมอริธิเรี่ยม ช้างกอมโฟเธอเรี่ยม เป็นช้างที่มีชีวิตอยู่ระหว่าง 13-25 ล้านปีมาแล้ว ดังรูป 
รูปช้าง “ กอมโฟเธอเรียม” (Gomphotherium) และโครงกระดูก
             2) ช้าง "ไดโนเธอเรี่ยม" (Deinotherium) ช้างงาจอบเป็นช้าง ที่มีชีวิตอยู่ระหว่าง 1.7-25 ล้านปีแล้ว ซากดึกดำบรรพ์ช้างสกุลนี้ เคยพบในทวีปแอฟริกา ยุโรปและเอเชีย เป็นช้างที่ไม่มีงาจากขากรรไกรบน แต่มีงาจากขากรรไกรล่าง และงอกยาวโค้งงอลงล่าง เข้าใจว่าใช้ในการขุดหารากไม้ มีหลายชนิด ความสูงเฉลี่ยประมาณ 3 เมตร แต่ชนิดที่ใหญ่ที่สุดพบในยุโรป มีความสูงถึงไหล่ 3.8 เมตร ในประเทศไทยพบครั้งแรกที่อำเภอปง จังหวัดพะเยา ต่อมาพบในบ่อดูดทรายตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ดังรูป
ช้าง “ไดโนเธอเรี่ยม” ( Deinotherium ) ช้างงาจอบ และฟันกราม
            3) ช้าง "สเตโกโลโฟดอน" (Stegolophodon) เป็นช้างที่มีชีวิตอยู่ ระหว่าง 5-25 ล้านปีที่ผ่านมา แล้วเป็นช้างบรรพบุรุษของวงศ์ปัจจุบัน มีงา 1 คู่ จากขากรรไกรล่าง ที่มีลักษณะที่ยาวกว่า เป็นช้างที่มีลักษณะอยู่ระหว่างช้างมาสโตดอน ยุคเทอร์เชียรี กับช้างเอลลิฟาส ในสมัยปัจจุบัน มีกรามล่างที่ใช้บดเคี้ยวพืชได้มีประสิทธิภาพ มากกว่าช้างกอมโฟเธอเรียม เป็นสกุลช้างที่เกิดขึ้นครั้งแรก ในระหว่างสมัยไมโอซีน ของทวีปยุโรป แอฟริกา และเอเชีย และได้สูญพันธุ์ไปในสมัยไพลโตซีน หรือสมัยน้ำแข็งช่วงสุดท้าย ดังรูป
ภาพช้าง “สเตโกโลโฟดอน” ( Stegolophodon) และฟันกราม
                4) ช้าง "สเตโกดอน" (Stegodon) เป็นช้างที่มีชีวิตอยู่ระหว่าง 0.01-5 ล้านปีมาแล้ว เป็นช้างโบราณที่เกิดขึ้นในระหว่างสมัยไพลโอซีน ในทวีปเอเชีย และในสมัยไพลโตซีนในทวีปแอฟฟริกา และเอเชีย เป็นสกุลช้างที่วิวัฒนาการต่อมาจากช้างสกุลสเตโกโลโฟดอน และเป็นช้างที่วิวัฒนาการมาเป็นช้างปัจจุบัน มีศรีษะขนาดใหญ่ (กะโหลกใหญ่กว่าช้างสกุลสเตโกโลโฟดอน) ขากรรไกรล่างสั้นเหมือนช้างปัจจุบัน แต่ลักษณะฟันยังเป็นปุ่ม (Cusp) แบบช้างโบราณ และงาล่างหายไป บางชนิดที่พบในอินเดีย มีงายาวถึง 3.3 เมตร ดังรูป
ภาพช้าง “สเตโกดอน” (Stegodon) และฟันกราม
                
5) ช้าง เอลลิฟาส (Elephas) เป็นช้างสกุลเดียวกับ ช้างเอเชีย หรือช้างไทยปัจจุบัน แต่พบในบ่อทรายเป็นชนิดที่โบราณกว่า สมัยก่อนจัดอยู่ในสกุลพาลีโอโลโซดอน มีจำนวนแผ่นฟันในกรามน้อยกว่าช้างปัจจุบัน มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 0.01-1.8 ล้านปีมาแล้ว พบซากดึกดำบรรพ์ในทวีปยุโรป เอเชีย รวมทั้งหมู่เกาะ เช่น ญี่ปุ่น เป็นช้างที่มีงาขนาดใหญ่กว่าช้างแมมมอธทั่วไป ความสูงถึงไหล่มากกว่า 3 เมตร ส่วนหัวมีขนาดเล็ เมื่อเปรียบเทียบกับลำตัว ดังรูป
ภาพช้าง เอลลิฟาส (Elephas)

ภาพถ่ายทางอากาศลุ่มน้ำมูลที่พบซากดึก บรรพ์ช้างโบราณ
      
ปัจจุบัน ซากดึกดำบรรพ์ช้างโบราณบางส่วน ได้มีการนำมาเก็บไว้ ทีอาคารแสดงโครงกระดูกซากช้างโบราณ เทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเีกียรติ โดยมีการจัดนิทรรศการความรู้ สำหรับประชาชนที่สนในมาเยี่ยมชม
อาคารแสดงโครง กระดูกซากช้างโบราณ

ภายในอาคารแสดงโครงกระดูกซากช้างโบราณ

ฟันกราม                                      งาช้าง

ซากดึกดำบรรพ์ช้างโบราณ

ช้างโบราณสกุลต่างๆ
 ซากกระดูกอื่นๆ ที่ขุดพบบริเวณบ่อทรายริมแม่น้ำมูล
ซากกะโหลกและฟันกรามแรดโบราณ

          ม้าโบราณ 3 นิ้ว                   ขากรรไกรและฟันยีราฟโบราณ

เมอริโคโปเตมัส                           สัตว์ตระกูลวัว

ปัจจุบันซากดึกดำบรรพ์อื่นๆ ที่ค้นพบหลายชิ้นไดสูญหายไปบางส่วน
       แหล่งซากดึกดำบรรพ์ช้างโบราณของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จัดได้ว่าเป็น "สุสานช้างโบราณ" ที่โดดเด่นที่สุดในโลก ทั้งนี้เพราะ พบในพื้นที่ที่กว้างกว่า 8,000 ไร่ มีซากดึกดำบรรพ์แรดโบราณ เต่า จระเข้ หอยหินขนาดใหญ่ ไม้และไผ่กลายเป็นหิน ซึ่งสามารถเป็นแหล่งศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งธรณีประวัติและสภาพภูมิศาสตร์ บรรพกาลของท้องถิ่นในยุคสมัยต่างๆ ทางธรณีวิทยาได้อย่างดีเยี่ยม หากมีการอนุรักษ์และพัฒนาที่เหมาะสม คาดว่าจะก่อประโยชน์ด้านการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย ตลอดจ

2 ความคิดเห็น: